ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแท่น

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแท่น

ที่ตั้งสถานศึกษา ถนนสายหนองเรือ-หนองแวง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่นจังหวัดชัยภูมิ 36190 โทรศัพท์ 036 044 - 886305

สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ชัยภูมิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแท่น (เดิม) จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 มีสำนักงานอยู่เป็นเอกเทศ ที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแท่น (เดิม)

และตามที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรับเปลี่ยนภารกิจหน่วยงานใหม่ให้เป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจกานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 41 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551 เป็นต้นไปนั้น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแท่น (เดิม) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแท่น สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษา เป็นต้นมา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแท่น

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแท่น

ที่ตั้งสถานศึกษา ถนนสายหนองเรือ-หนองแวง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่นจังหวัดชัยภูมิ 36190 โทรศัพท์ 036 044 - 886305

สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ชัยภูมิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแท่น (เดิม) จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 มีสำนักงานอยู่เป็นเอกเทศ ที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแท่น (เดิม)

และตามที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรับเปลี่ยนภารกิจหน่วยงานใหม่ให้เป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจกานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 41 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551 เป็นต้นไปนั้น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแท่น (เดิม) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแท่น สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษา เป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำไมเจ้าอนุวงษ์จึงปราชัย


ทำไมเจ้าอนุวงศ์ จึงต้องปราชัย
บทนำ
                สงครามเจ้าอนุวงศ์ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2369-71 ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (2367-94) เป็นประวัติศาสตร์ตอนที่สำคัญมากทั้งในประวัติ ศาสตร์ไทยและในประวัติศาสตร์ลาว ในประวัติศาสตร์ไทยบันทึกว่าสงครามครั้งนี้เป็นสงครามของพวกกบฏ หัวหน้ากบฏคือเจ้าอนุวงศ์เป็นคนไม่ดี
                พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎา บดินทร์ ทรงเลื่อนตำแหน่งเจ้าอนุวงศ์ที่ทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงแต่งตั้งเจ้าราชบุตร (โย่) ของเจ้าอนุวงศ์ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ เพราะเชื่อในความจงรักภักดีในเจ้าอนุวงศ์ซึ่งเคยช่วยไทยรบกับพม่ามาหลาย ครั้ง แต่เมื่อเจ้าอนุวงศ์ทรงเป็นกบฏในต้นรัชกาลที่ 3 พระองค์จึงทรงแค้นพระทัยมากทรงสั่งให้ทำลายเวียงจันทน์มิให้เป็นเมืองอีกต่อ ไป
                ในประวัติศาสตร์ลาวถือว่า สงครามเจ้าอนุวงศ์เป็นสงครามที่ควรยกย่อง เพราะเป็นสงครามปลดแอกลาวให้พ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของไทย ผลของสงครามใหญ่หลวงนักโดยเฉพาะการกวาดต้อนประชากรจากเวียงจันทน์และลาวฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขงเอามาตั้งถิ่นฐานในภาคกลางและภาคอีสาน จนเป็นเหตุให้ประชากรลาวเหลือน้อยมาจนทุกวันนี้ (ปัจจุบันประเทศลาวมีประชากร 5.7 ล้านคน ภาคอีสาน 21.7 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2546) แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่จะเสนอในบทความนี้ ประเด็นที่จะนำเสนอคือ วิเคราะห์สาเหตุของความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์เพื่อให้หายสงสัยว่ากองทัพเจ้า อนุวงศ์แพ้เพราะอะไร เพราะฝ่ายไทยมีอาวุธดีกว่าหรือเพราะฝ่ายไทยมีกำลังมากกว่า หรือเพราะฝ่ายลาวประเมินกำลังพันธมิตรและศัตรูผิด หรือเพราะหลายๆ ปัจจัย โดยจะกล่าวถึงสาเหตุของสงครามและสงครามโดยสังเขปเสียก่อน
* บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 ขอขอบคุณศูนย์วิจัยพหุลักษณ์ลุ่มน้ำโขงที่ให้ทุนโครงการวิจัยนี้
..........................................................................................................................................................................
สาเหตุของสงครามโดยสังเขป
                หลักฐานที่เป็นทางการที่สุด ของฝ่ายไทยคือประชุมจดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงไว้ สรุปได้ดังนี้
1. ไทยปกครองลาวและภาคอีสานทั้งหมดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2322
ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไทยปกครองลาวเป็น 3 ส่วน คือ แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ และแคว้นจำปาศักดิ์ แต่ละแคว้นไม่ขึ้นแก่กัน แต่ขึ้นกับกรุงเทพฯ

                ช่วงปลายรัชกาลที่ 2 เกิดกบฏสาเกียดโง้งในปี พ.ศ. 2362 เป็นกบฏของชาวข่าในพื้นที่ภาคใต้ของลาว กองทัพของเวียงจันทน์โดยการนำของเจ้าราชบุตรโย่ (ราชบุตรองค์ที่ 3 ของเจ้าอนุวงศ์) ปราบกบฏข่าลงได้ เจ้าอนุวงศ์ทรงเสนอให้รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งเจ้าราชบุตรโย่ให้เป็นเจ้าครองแคว้นจำปาศักดิ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของไทยส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่าจะทำให้เจ้า อนุวงศ์ทรงมีอำนาจมากเกินไป แต่รัชกาลที่ 2 ทรงเชื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ว่า ถ้าลาวเข้มแข็งจะช่วยป้องกันมิให้ญวนขยายอำนาจเข้ามา
                การที่รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งเจ้าราชบุตรโย่เป็นเจ้าครองแคว้นจำปาศักดิ์ส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์มี อำนาจเพิ่มขึ้นมาก "เพราะสามารถจะบังคับบัญชาว่ากล่าวบ้านเมืองทางชายพระราชทานอาณาเขตได้ ตั้งแต่ด้านเหนือลงมาตลอดด้านตะวันออกจนต่อแดนกรุงกัมพูชา เจ้าอนุวงศ์ก็มีใจกำเริบขึ้น"
2. เจ้าอนุวงศ์ทูลขอแบ่งพวกครัวชาวเวียงจันทน์
                ที่กวาดต้อนมาสมัยกรุงธนบุรีกลับเวียงจันทน์ รัชกาลที่ 3 ทรงปฏิเสธ เพราะหากทรงยอมก็จะมีคนกลุ่มอื่นที่ไทยกวาดต้อนมา "พากันกำเริบ" เอาอย่างบ้าง เมื่อไม่พระราชทานตามประสงค์เจ้าอนุวงศ์รู้สึกอัปยศกลับขึ้นไปเวียงจันทน์ก็ ตั้งต้นคิดกบฏ
3. เจ้าอนุวงศ์ทรงเห็นว่าการที่ญวนขยายอำนาจเข้ามาในเขมรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
                ไทยก็ยอมเพราะไทยเกรงจะเกิดศึกกระหนาบทั้งพม่าและญวน เจ้าอนุวงศ์ทรงเอาใจออกห่างจากไทยไปฝักใฝ่ญวน หากเวียงจันทน์แยกตัวจากไทยก็คงได้ญวนเป็นที่พึ่งไทยก็อาจไม่กล้าทำศึกหลาย ด้าน
4. มีข่าวลือถึงเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2369 ว่าไทยวิวาทกับอังกฤษ
                อังกฤษจะยกทัพเรือมาตีกรุงเทพฯ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่เวียงจันทน์จะออกหน้าก่อการกบฏ
                เพื่อความเป็นธรรมต่อเจ้าอนุวงศ์จึงนำเหตุผลฝ่าย ลาวมาเปรียบเทียบกับหลักฐานฝ่ายไทย นักประวัติ ศาสตร์ลาวที่เด่นที่สุดเป็นที่ยอมรับของลาวในสมัยสังคมนิยมก็คือ ดร. มยุรี และ ดร. เผยพัน เหง้าสีวัทน์ ได้วิเคราะห์สาเหตุของสงครามเจ้าอนุวงศ์ไว้ดังนี้
1. เพราะนโยบายของ "บางกอก" ที่พยายามทำให้ "ลาว" กลายเป็น "สยาม"
                ทำให้ลาวกลายเป็นแขวงหนึ่งของสยาม โดย ดร. มยุรี-ดร. เผยพันตี ความจากสักเลกในภาคอีสานในต้นรัชกาลที่ 3 ว่าเป็นความพยายามที่จะกลืนชาติลาว
2. ไทยกดขี่ลาวมาก
                โดยดอกเตอร์ทั้งสองได้ยกกรณีไทยใช้ให้คนลาวไปตัดต้นตาลที่สุพรรณบุรี แล้วขนไปสมุทรปราการ กับเกณฑ์ชาวลาวไปตัดไม้ไผ่ 5,000 ลำ เพื่อเอาไปปิดขวางปากน้ำเพื่อป้องกันการโจมตีของอังกฤษ
 3. เจ้าอนุวงศ์ถูกขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายไทยหลายคนพูดจาทำกิริยาดูหมิ่นดูถูกเจ้าราชวงศ์
                โอรสองค์รองของเจ้าอนุวงศ์ และเป็นผู้ควบคุมคนลาวไปตัดต้นตาลที่สุพรรณบุรีขนไปปากน้ำไม่พอใจเรื่องที่ คนไทยดูหมิ่น และกดขี่คนลาวดังกล่าวมาก ถึงกับไปทูลเจ้าอนุวงศ์ว่า "ข้าพเจ้าไม่ขอเป็นขี้ข้าพวกไทยแล้ว"
4. ประเด็นเศรษฐกิจ
                ไทยพยายามปิดล้อมในการส่งสินค้าออกไปทางเขมรซึ่งขุนนางไทยผูกขาดการค้าอยู่ การขูดรีดส่วยจากลาวก็เป็นสาเหตุของการทำสงครามครั้งนี้ด้วย
..........................................................................................................................................................................
สงครามเจ้าอนุวงศ์โดยสังเขป
                สงครามในยุค 180 ปีก่อนของไทยต่างจากสงครามในสมัยปัจจุบันที่เราเห็นในข่าวโทรทัศน์เป็นอย่าง มาก กล่าวคือ ในยุคนั้นสงครามมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การเก็บทรัพย์จับเชลยกลับมาไว้ที่ เมืองหลวงของตน ส่วนการยึดครองพื้นที่เป็นเป้าหมายรอง หากมีกำลังมากก็ยึดครองพื้นที่ของศัตรูด้วย หากมีกำลังไม่มากพอก็ตั้งเจ้าพื้นเมืองปกครองในฐานะประเทศราช ซึ่งวิธีหลังนี้ไทยใช้กับล้านนา ล้านช้าง เขมร และหัวเมืองมลายู
                สำหรับเจ้าอนุวงศ์เป้าหมายใน การทำสงครามคือการปลดแอกจากการเป็นเมืองขึ้นของไทย สำหรับวิธีการปลดแอกที่เจ้าอนุวงศ์ทรงวางแผนเอาไว้คือ ระดมพลจากเมืองที่เวียงจันทน์บังคับบัญชามาไว้ที่เวียงจันทน์กับจำปาศักดิ์ เพื่อฝึกทหารให้พร้อมรบยิ่งขึ้น แล้วส่งขุนนางพร้อมทหารส่วนหนึ่งออกไปเกลี้ยกล่อมเมืองต่างๆ ในภาคอีสานให้เข้าร่วมกับฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ส่วนการเข้าตีกรุงเทพฯ ถ้าตีได้ก็ตี ถ้าดูท่าทีกรุงเทพฯ มีการป้องกันที่เข้มแข็งก็ไม่ตี แต่จะกวาดต้อนประชากรตามหัวเมืองรายทางที่กองทัพลาวผ่านกลับเอามาไว้ที่ เวียงจันทน์และจำปาศักดิ์
                นอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ยังได้ ส่งทูตไปชักชวนเกลี้ยกล่อมให้ญวน หลวงพระบาง หัวเมืองล้านนามีน่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เข้ามาช่วยพระองค์ด้วย เพราะลำพังเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กำลังน้อยกว่าฝ่ายไทยมาก ทูตที่ส่งไปญวนไปก่อนการระดมพลที่เวียงจันทน์ของเจ้าอนุวงศ์ แต่แคว้นและหัวเมืองอีก 6 แห่งที่กล่าวข้างบนส่งไปหลังจากมีการระดมพล หมายความว่าเจ้าอนุวงศ์ทรงตัดสินพระทัยทำสงครามก่อนที่จะรู้ผลว่าอาณาจักร ญวน แคว้นและหัวเมืองอีก 6 แห่ง จะเข้าร่วมสงครามกับพระองค์หรือไม่ อันนี้เป็นการตัดสินพระทัยที่รีบร้อนเกินไป เพราะปรากฏภายหลังจากสงครามดำเนินไปแล้วว่าอาณาจักรญวน กับแคว้นและหัวเมืองอีก 6 แห่ง มิได้เข้าช่วยในสงครามครั้งนี้ แต่ถึงตอนนั้นก็สายไปเสียแล้ว
                สำหรับ เมืองในอีสานที่เจ้าอนุวงศ์ทรงส่งขุนนางและทหารไปเกลี้ยกล่อม ปรากฏว่าผลของการเกลี้ยกล่อมมีระดับที่แตกต่างกัน กล่าวคือ มี 2 เมืองที่เข้าร่วมอย่างเต็มที่คือ นครพนมกับจัตุรัส อีก 9 เมืองที่เข้าร่วมไม่เต็มที่เท่า 2 เมืองแรก คือ ขุขันธ์ สระบุรี หล่มสัก ชนบท ยโสธร สุรินทร์ ปักธงชัย ขอนแก่น สกลนคร และเมืองที่เจ้าเมืองไม่เข้าร่วมและถูกทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ฆ่าตายคือ เจ้าเมืองเขมราฐ กาฬสินธุ์ ภูเวียง ภูเขียว ชัยภูมิ หล่มสัก และขุขันธ์ สำหรับ ขุขันธ ตอนแรกให้ความร่วมมือดีมาก แต่ภายหลังเจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตรโย่) เกิดไม่ไว้ใจจึงฆ่าเสีย
                สำหรับการสงครามกล่าวโดยย่อก็คือ กองทัพฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ตอนแรก (ช่วง 6 เดือนจากเดือนตุลา คม พ.ศ. 2369-มีนาคม พ.ศ. 2369) (นับอย่างปัจจุบัน พ.ศ. 2370) มีกำลังประมาณ 17,660 – 35,000 คน ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2370 มีกำลังประมาณ 40,000 – 50,000 คน
กองทัพลาวยกเข้ามา 2 สายหลัก
สายแรกยกจากเวียงจันทน์เข้ามาทาง 2 ทาง คือ หนองบัวลำภู กับสกลนคร
                จากหนองบัวลำภูตรงมายึดเมืองโคราช ส่วนทางสกลนคร ยกมาทางกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ตามลำดับ
สายที่สองยกมาจากจำปาศักดิ์เข้ามาทางอุบลราชธานี
                แล้วแยกเป็นสองทาง ทางหนึ่งยกไปทางสุวรรณภูมิ อีกทางยกไปทางศรีสะเกษ ขุขันธ สังขะ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ประโคนชัย นางรอง การปะทะกันระหว่างกองกำลังของฝ่ายกู้ชาติเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กับเมืองรายทางมีน้อยมาก ส่วนหนึ่งเพราะเห็นด้วยกับการกระทำของฝ่ายกู้ชาติ แต่เจ้าเมืองกรมการเมืองส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเป็นกบฏ และเกรงจะต้องเผชิญกับการตีโต้ของฝ่ายไทย แต่เจ้าเมืองไม่มีกำลังจะต่อต้านกองกำลังของฝ่ายกู้ชาติจึงต้องทำเป็นเออออ เห็นด้วยกับฝ่ายกู้ชาติ
                กองทัพฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กวาดต้อนประชากรจากพื้นที่เขตโคราช-ลุ่มน้ำชีตอนต้น 11 เมือง พื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลางถึงตอนปลาย 7 เมือง พื้นที่ตอนใต้ 9 เมือง พื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก 8 เมือง รวม 35 เมือง เมืองที่ใกล้กรุงเทพฯ ที่สุดคือเมืองสระบุรี เมืองศูนย์กลางการปกครองหลักของฝ่ายกรุงเทพฯ ในภาคอีสานและลาวคือเมืองโคราชก็ยึดอยู่ 37 วัน ก็ถูกกวาดต้อนประชากรราว 18,000 คน หากรวมประชากรทั้ง 35 เมืองที่ถูกกองทัพฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กวาด ต้อนไปรวมประมาณ 54,320 - 95216 คน
การกบฏของเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ครั้งนี้ "ประกาศการกู้ชาติ" ในต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2369
                ระดมพลและฝึกทหารราว 3 เดือน ระหว่างกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2369 (นับอย่างปัจจุบัน พ.ศ. 2370) แล้วจึงเคลื่อนกำลัง มายึดเมืองโคราชในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369(2370) รัฐบาลที่กรุงเทพฯ จึงทราบข่าวกบฏ หลังจากที่ฝ่ายกบฏได้ดำเนินการไปแล้วเกือบ 5 เดือน วันที่รัฐบาลทราบข่าวกบฏยกกำลังมาถึงเมืองสระบุรี ซึ่งห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 110 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทัพเพียง 3-4 วัน แสดงให้เห็นว่าการข่าวของไทยล้าหลังมาก แต่โชคดีของฝ่ายไทยที่กองทัพฝ่ายกบฏมิได้บุกกรุงเทพฯ แต่ตัดสินใจยกทัพกลับพร้อมกับเก็บทรัพย์จับเชลยกลับเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์
กบฏครั้งนี้ใหญ่หลวงมากในสายตาของรัฐบาลไทย
                เห็นได้จากการออกคำสั่งเกณฑ์กำลังจากหัวเมืองทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ขึ้นไปจนถึงหลวงพระบาง แม้กระทั่งภาคใต้เกณฑ์ไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช แต่อย่างไรก็ตามกำลังหลักที่รัฐบาลไทยได้ใช้ในการรบจริงๆ เป็นกำลังจากภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย พิชัย ตาก เชียงทองเดิน)
กองทัพไทยเดินทัพเข้าสู่ภาคอีสาน 5 ทาง
                คือ เข้าอีสานใต้ทางประโคนชัย บุรีรัมย์ ตีค่ายมูลเค็งที่พิมาย สุวรรณภูมิ ยโสธร อุบล ราชธานี จำปาศักดิ์ จากจำปาศักดิ์ตีขึ้นไปตามแม่น้ำโขงผ่านเขมราฐ มุกดาหาร นครพนม สกลนคร ทัพนี้มีบทบาทเด่นที่สุด แม่ทัพคือ พระยาราชสุภาวดีหรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชาในเวลาต่อมา ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางปากช่องโคราช มุ่งเข้าตีหนองบัวลำภู ทัพที่ 3 ผ่านสระบุรี ด่านขุนทด แล้วไปทางเดียวกับทัพที่ 2 ทัพที่ 4 ผ่านสระบุรี เข้าตีเพชรบูรณ์ หล่มสัก ทัพที่ 5 จากพิษณุโลก เข้าตีหล่มสัก แล้วแบ่งส่วนหนึ่งยกขึ้นไปทางด่านซ้าย เมืองเลย มีเป้าหมายที่เวียงจันทน์ อีกส่วนหนึ่งจากหล่มสัก เข้าตีเมืองหนองบัวลำภู
กองกำลังหลักของฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ มี 5 แห่ง
                ตั้งรับอยู่ที่ค่ายมูลเค็ง ยโสธร หล่มสัก หนอง บัวลำภู และเวียงจันทน์ การรบที่ดุเดือดที่สุดคือการรบ ที่หนองบัวลำภูซึ่งฝ่ายลาวต่อต้านอย่างเหนียวแน่นในการรบวันที่ 3-4 พฤษภาคม และ 10-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2370 ในที่สุดฝ่ายไทยก็ตีแตกทุกแห่ง
เจ้าอนุวงศ์เมื่อทรงทราบว่าหนองบัวลำภูแตกก็เสด็จหนีไปเมืองญวน
กองทัพไทยยึดเมืองเวียงจันทน์ในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2370
                หลังจากรัฐบาลไทยทราบข่าวกบฏประมาณ 3 เดือน กับ 1 สัปดาห์ นับว่ากองทัพไทยมีประสิทธิภาพสูงทีเดียว แต่การกบฏมิได้ยุติเพียงนั้น เพราะภายหลังจากฝ่ายไทยเก็บทรัพย์ จับเชลยกลับมาแล้ว เจ้าอนุวงศ์ซึ่งเสด็จลี้ภัยการเมืองอยู่ในเมืองญวน 1 ปี 78 วัน ก็เสด็จกลับเข้าเมืองเวียงจันทน์อีก พร้อมกับคณะทูตญวนซึ่งเดินทางเข้ามาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้เจ้าอนุวงศ์ ใน วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2371
                หลังจากมาถึงเวียง จันทน์ได้ไม่ถึง 2 วัน ทหารลาวก็ฆ่าฟันทหารไทย 300 คน ที่รักษาการณ์ในเวียงจันทน์ตายเกือบหมด
                เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้รวบรวมกำลังทหารแถวเมืองเสลภูมิ ยโสธรยกกลับมาตีโต้กองกำลังของฝ่ายลาวซึ่งนำโดยราชวงศ์ที่บ้านบกหวาน ใต้เมืองหนองคายลงมาเล็กน้อย สู้กันจนแม่ทัพทั้งสองบาดเจ็บ แต่ในสุดกองทัพลาวก็แตก
ทัพไทยเข้ายึดเวียงจันทน์ได้เป็นครั้งที่สองในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2371
                ส่วนเจ้าอนุวงศ์เสด็จหนีไปเมืองญวนเหมือนครั้งก่อน แต่ไปไม่รอดเจ้าน้อยเมืองพวนได้แจ้งที่ซ่อนของเจ้าอนุวงศ์ให้ฝ่ายไทยทราบ ฝ่ายไทยจึงจับเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ส่งกรุงเทพฯ พร้อมทำลายเมืองเวียงจันทน์เสียราบ เจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ถูกขังประจานที่ท้องสนามหลวง 7-8 วัน ก็ป่วยเป็นโรคลงโลหิตพิราลัยเมื่อชันษาได้ 61 ปี ครองราชย์จาก พ.ศ. 2347-70 รวม 23 ปี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเวียงจันทน์
..........................................................................................................................................................................
 วิเคราะห์สาเหตุความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์
                หลักฐานที่ใช้วิเคราะห์หา สาเหตุความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์ มาจากหลักฐานชั้นต้น คือจดหมาย เหตุรัชกาลที่ 3 ซึ่งบันทึกในขณะเกิดเหตุโดยเฉพาะรายงานของแม่ทัพนายกองขุนนาง บันทึกคำให้ การของเชลยที่ไทยจับมาหลายคน ตลอดจนนิราศทัพเวียงจันทน์ ซึ่งหม่อมเจ้าทับทรงนิพนธ์ พระองค์ทรงเป็นทหารของกรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ซึ่งเป็นแม่ทัพหน้าในการรบที่ หนองบัวลำภู ทรงเห็นเหตุการณ์รบอันดุเดือดด้วย ( นิราศทัพเวียงจันทน์นี้ สำนักพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. 2544 เป็นเอกสารชั้นต้นที่สำคัญมาก สำหรับการศึกษาสงครามเจ้าอนุวงศ์) สาเหตุของความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์ตรงตามตำราของซุนวู และเหมาเจ๋อตุงที่กล่าวไว้ว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" แต่เจ้าอนุวงศ์ทรงรู้เฉพาะกำลังฝ่ายตน แต่ทรงไม่รู้กำลังฝ่ายศัตรูคือฝ่ายไทย ประเมินผิดในฝ่ายที่พระองค์ทรงคิดว่าเป็นพันธมิตรของพระ องค์ คือญวน หลวงพระบาง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ดังจะวิเคราะห์เป็นข้อๆ ดังนี้
1. เจ้าอนุวงศ์ทรงประเมินกำลังฝ่ายไทยผิด
                คิดว่าแม่ทัพนายกองรุ่นใหม่ๆ ที่เก่งๆ คงจะมีน้อยกว่าแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นการประเมินที่ผิด สงครามเจ้าอนุวงศ์ทำให้เห็นแม่ทัพไทยที่เก่งกาจกล้าหาญหลายคน อาทิ กรมหมื่นนเรศโยธี แม่ทัพหน้าบริเวณลุ่มน้ำชีตอนต้น เจ้าพระยาราชสุภาวดี แม่ทัพไทยด้านอีสานกลาง อีสานตะวันออก และพระยาเพชรพิไชย แม่ทัพหน้าลุ่มน้ำป่าสัก
2. เจ้าอนุวงศ์ทรงประเมิน "พันธมิตร" ของพระองค์ผิดพลาดไปหมด
                ทรงคิดว่า "ลาวพุงดำ" อันประกอบไปด้วย เชียง ใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านจะเข้าช่วยพระองค์ พระองค์ทรงส่งทูตไปชักชวนลาวพุงดำเหล่านี้ ซึ่งเป็นลาวด้วยกัน ไทยปกครองแบบประเทศราชตั้งแต่ พ.ศ. 2317 ก่อนไทยปกครองล้านช้าง 5 ปี บางเมือง เช่น น่านมีความสนิทสนมกับเจ้าราชบุตรเหง้าของเจ้าอนุวงศ์มากขนาดดื่มน้ำสาบาน เป็นเพื่อนแท้กันมาแล้ว
สำหรับหลวงพระบาง

                เจ้าอนุวงศ์ก็ส่งทูตไปเกลี้ยกล่อมมาเป็นพวก ถึงแม้จะเคยขัดแย้งกันมาก่อนหน้านั้นหลายครั้งกับเวียงจันทน์ แต่เจ้าอนุวงศ์ทรงมองหลวงพระบางในแง่บวกคิดว่า คราวนี้เป็นศึกระหว่างลาวกับไทย อย่างไรเสียหลวงพระบางกับเวียงจันทน์ก็เป็นลาวด้วยกัน อย่างไรเสียน่าจะช่วยลาวมากกว่าไปช่วยไทย เจ้าอนุวงศ์ทรงสนิทสนมกับปลัดจันทา ปลัดน้อยยศ 2 คนนี้เป็นปลัดกองเมืองสระบุรี เป็นลาวพุงดำ ปลัด 2 คนนี้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองล้านนาทั้งหมดมาช่วยเวียงจันทน์หลายครั้ง ส่วนเมืองน่านก็มีหนังสือไปบอกให้เมืองแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ยกทัพมาช่วยเวียงจันทน์ตีกรุงเทพฯ โดยในหนังสือนั้นบอกว่าให้ยกทัพมาช่วยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกรมพระราชวังบวรฯ แย่งชิงอำนาจ
แต่ล้านนาก็มิได้ตกหลุมพรางง่ายๆ
                 เพราะการเป็นกบฏต่อไทยเป็นเรื่องใหญ่มาก ไทยมีประเทศราชมาก ไทยจะเกณฑ์หัวเมืองประเทศราชที่เหลือมาปราบกบฏเหมือนที่กำลังทำต่อ เวียงจันทน์ ประเทศราชใดไม่มาช่วยตามคำสั่งของรัฐบาลไทยก็ถือเป็นกบฏไปด้วย ดังนั้นทางที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับประเทศราชก็คือ อยู่ฝ่ายไทย แต่ก็อยู่ฝ่ายไทยอย่างฉลาดคือยกทัพไปเวียงจันทน์แต่ไปอย่างช้าที่สุด
                เมื่อไปถึงไทยก็ยึดเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว ส่วนหลวงพระบางก็เข้ากับฝ่ายไทยเหมือนล้านนา กล่าวโดยสรุปพันธมิตรที่เจ้าอนุวงศ์ทรงคาดหวังว่าจะอยู่ฝ่ายพระองค์เมื่อตอน เริ่มต้นของสงคราม แต่ต่อเมื่อเคลื่อนทัพไปไกลแล้วก็ทรงพบว่าหลวงพระบางและ 5 หัวเมืองล้านนาไม่มีทีท่าชัดเจนว่าจะอยู่ฝ่ายพระองค์ พระองค์จึงทรงขอร้องให้หัวเมืองล้านนาทั้งห้าวางตัวเป็นกลาง พระองค์ก็ทรงพอพระทัยแล้ว แต่พระองค์ก็ต้องทรงผิดหวัง เพราะหัวเมืองทั้ง 6 แห่งที่กล่าวข้างต้นเข้ากับฝ่ายไทยทั้งหมด
สำหรับญวน
                เป็นอาณาจักรที่เจ้าอนุวงศ์ทรงคาดหวังมากว่าจะเป็นพันธมิตรของพระองค์ ทรงส่งทูตไปเจรจาหลายครั้ง ขอร้องให้ญวนโจมตีไทยทางปากน้ำเจ้าพระยา ยังมิทันได้คำตอบจากญวน พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยทำสงครามไปแล้ว องค์ต๋ากุนแม่ทัพใหญ่ของญวนในญวนใต้เห็นด้วยที่จะทำสงครามกับไทย แต่จักรพรรดิมินหม่างทรงรู้ว่าราชวงศ์จักรีมีพระคุณต่อจักรพรรดิยาลองในการ ทำสงครามกอบกู้ราชวงศ์ เหวียนขึ้นมาได้ การมาช่วยลาวโจมตีไทยก็เหมือนคนอกตัญญู ประกอบกับขณะนั้นเกิด อหิวาต์ระบาดในเมืองญวนคนตายเป็นจำนวนมาก จากเหตุผลดังกล่าวญวนจึงวางเฉยต่อการชักชวนของเจ้าอนุวงศ์ดังกล่าว
                ตอนที่เจ้าอนุวงศ์ทรงบอกให้หัวเมืองล้านนาทั้งห้าวางตัวเป็นกลางนั้น พระองค์ยังทรงหวังว่าจะได้กำลังจากญวนมาช่วยเพราะพบหลักฐานในเอกสารชั้นต้น เป็นหนังสือที่แจ้งให้หัวเมืองล้านนาตอนหนึ่งว่า "เรากับเมืองญวนเท่านั้นก็สำเร็จโดยง่าย" นี่คือการประเมินที่ผิดพลาดอย่างสำคัญของเจ้าอนุวงศ์
                สำหรับอังกฤษ เจ้าอนุวงศ์ทรงประเมินท่าทีผิดพลาดก่อนประเมินรัฐ และหัวเมืองอื่น เป็นความผิดพลาดที่สำคัญกว่าความผิดพลาดอื่นด้วย เพราะปัจจัย ที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ทรงตัดสินพระทัยว่าถึงเวลาแล้ว ที่เวียงจันทน์จะต้องประกาศเอกราชจากไทยก็คืออังกฤษนั่นเอง กล่าวคือ ในช่วงที่พระองค์ประทับอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษไม่ดีนัก อังกฤษส่งทูตคือกัปตันเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจาเพื่อทำสัญญาทางไมตรีและการค้ากับไทย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2368 เจรจาอยู่ 3 เดือนก็ยังไม่ยุติ
                เจ้าอนุวงศ์ก็เสด็จกลับเวียงจันทน์ และต่อมาก็มีข่าวลือไปถึงเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ว่าไทยมีเรื่องกับอังกฤษ ดังปรากฏในจดหมายเหตุ ร.3 จ.ศ. 1187 เลขที่ 5/ข ว่า "เรา [เจ้าอนุวงศ์] ได้ยินข่าวทัพเรืออังกฤษก็มารบกวนปากน้ำ...น่าที่เราจะยกกองทัพใหญ่ไปตี กรุงเทพฯ ก็เห็นได้โดยง่ายเพราะเราจะเป็นทัพกระหนาบ ทัพอังกฤษเป็นทัพหน้าอยู่ปากน้ำ ไทยก็จะพว้าพวังทั้งข้างหน้าข้างหลัง คงจะเสียทีเราเป็นมั่นคงไม่สงสัย"
                ข้อมูลเรื่องอังกฤษจะรบกับไทยนี้จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่ง ต่อชะตาของเวียงจันทน์ เป็นเรื่องที่โชคร้ายมากที่เจ้าอนุวงศ์ทรงเชื่อข้อมูลนี้ จึงทรงตัดสินพระทัย "กู้ชาติ" ทั้งๆ ที่กำลังทหารของพระองค์ยังไม่มากพอจะต่อกรกับไทยตามลำพัง ในแผนการสงครามกู้ชาติของพระองค์จึงมีอังกฤษเป็นพันธมิตร (ที่ไม่ได้เซ็นสัญญา) ที่รบกับไทยทางด้านปากน้ำเจ้าพระยา ส่วนฝ่ายเวียงจันทน์ตีไทยทางด้านเหนือและอาจจะมีญวนช่วยตีทางด้านปากน้ำอีก ทัพ หากเป็นไปตามแผนที่จินตนาการไว้นี้ไทยจะต้องแย่แน่ๆ ฝ่ายเวียงจันทน์เองก็รบง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้กำลังมากมายก็อาจเอาชนะไทยได้ ในจินตนา การของพระองค์ยังทรงดึงล้านนาและหลวงพระบางให้ช่วยตีไทยทางเหนืออีกด้วย
                แต่ จินตนาการสงครามของพระองค์ต้องล้มเหลวเพราะเมื่อเวลาทำสงครามจริงพันธมิตรใน จินตนาการของพระองค์กลับไม่ได้เกิดขึ้นจริง อังกฤษก็เซ็นสัญญาเบอร์นี่กับไทย ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 (4 เดือนหลังจากพระองค์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ) ญวนก็ไม่ได้ยกทัพมา หลวงพระบางและล้านนาไทยทั้งห้าก็ไม่ได้มาช่วยพระองค์ จึงมีแต่กำลังของเวียง จันทน์-จำปาศักดิ์เท่านั้นก็ต้องรบกับไทยตามลำพัง
เรื่องอังกฤษรบกับไทย
                แม้ในเวลาต่อมาเจ้าอนุวงศ์คงจะทรงทราบว่าไม่จริง แต่นักประวัติศาสตร์ไม่ทราบว่าพระองค์ทรงทราบความจริงตอนไหน อาจจะเป็นตอนที่มาถึงโคราชแล้วก็ได้ ตอนที่กองทัพเวียง จันทน์มาถึงโคราชที่แรก แจ้งกับกรมการเมืองโคราชว่า ยกทัพมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษและขอเบิกข้าวจากฉางหลวงเมืองโคราช โดยอ้างว่าจะเอาไปเป็นเสบียง กรมการเมืองโคราชก็ไม่เคยทราบเรื่องไทยรบกับอังกฤษ
                ปกติเรื่องสำคัญขนาดนี้สมุห์นายกจะต้องรีบแจ้งเจ้าเมืองโคราชให้ทราบอยู่ แล้ว เพื่อเกณฑ์กองทัพเสบียง แต่นี่ไม่มีหนังสือแจ้งจึงดูจะไม่ค่อย เชื่อคำกล่าวอ้างของฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ แต่ด้วยกองทัพที่ยกมามากมาย กรมการเมืองจึงต้องยอมเปิดฉางข้าวให้กองทัพฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ กองทัพของเจ้าอนุวงศ์ตั้งมั่นอยู่ที่โคราชถึง 37 วันจึงถอนกลับเวียงจันทน์ ที่ตั้งอยู่นานคงรอตรวจสอบข้อมูลเรื่องกองทัพญวนและอังกฤษ เรื่องกองทัพเรืออังกฤษไม่เพียงแต่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ทรงตัดสินพระทัยประกาศ เอกราช แต่ทำให้ฝ่ายไทยเองก็สับสนพลอยระแวงว่าอังกฤษจะทำมิดีมิร้ายกับไทยหรือไม่
                กล่าวคือ ในระหว่างที่ไทยเคลื่อนทัพจากภาคกลางสู่ภาคอีสานแล้ว เจ้าเมืองนครศรี ธรรมราชมีใบบอกถึงกรุงเทพฯ ว่า กองเรืออังกฤษ 5 ลำมาจอดที่ปีนัง ไม่ทราบว่าจะมุ่งไปทางใด เขาจึงไม่อาจนำทัพมาช่วยกรุงเทพฯ ด้วยตนเอง แต่ให้พระยาพัทลุงบุตรชายคนโตนำทัพ 5,000 คน มาช่วยกรุงเทพฯ รบกับเวียงจันทน์
                ข่าวร้ายนี้ทำให้รัชกาลที่ 3 ทรงเรียกกองทัพที่ส่งมารบในอีสานกลับ 3 กองทัพ (คือ กองทัพเจ้าพระยาพระคลัง กองทัพกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร กองทัพกรมหมื่นสุรินทรรักษ์) แต่ม้าเร็วมาแจ้งทันเพียง 2 กองทัพที่อยู่หลังสุด 2 กองทัพนี้จึงกลับมารักษากรุงเทพฯ
ที่ยกเรื่องอังกฤษมายืดยาวก็ เพื่อจะบอกว่าการที่เจ้าอนุวงศ์ทรงเชื่อว่าอังกฤษคงจะมีเรื่องกับไทยแน่ เป็นข่าวที่มีมูล ไม่ใช่เป็นจินตนาการที่ไร้เหตุผล แต่โชคร้ายสำหรับเจ้าอนุวงศ์ตรงข่าวนี้ไม่จริง หากไทยรบกับอังกฤษจริง เวียงจันทน์ก็คงกู้ชาติสำเร็จไปแล้วในสงครามครั้งนั้น
3. การกวาดต้อนประชากรอีสานเป็นจำนวนมาก
                หากดูผิวเผินจะเป็นผลดีต่อฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ในเรื่องของการเพิ่มพลเมืองเพิ่ม กำลังทหาร แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกแล้วเป็นการสร้างปัญหาแก่ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ไม่น้อย กล่าวคือต้องแบ่งกำลังทหารส่วนหนึ่งมาควบคุมผู้อพยพไม่ให้ก่อความวุ่นวาย หรือโจมตีฝ่ายลาวแบบที่เกิดที่ทุ่งสำริดซึ่งทำให้จำนวนทหารจะใช้รบจริงลดลง ความทุกข์ยากของผู้อพยพจากการเดินทาง การขาดแคลนอาหาร การเจ็บป่วย และการต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติเนื่องจากไม่อาจขนย้ายไปได้ ทำให้ผู้อพยพไม่พอใจจนเกิดการต่อต้านจากผู้อพยพหลายที่ เช่น ชาวบ้านด่านลำจาก อุบลราชธานี ศรีสะเกษ เป็นต้น ซึ่งการต่อต้านของ 2 กรณีหลังทำให้เจ้านครจำปาศักดิ์พ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว ในตอนท้ายของสงคราม
4. เจ้าเมืองอีสานหลายเมืองไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายเจ้าอนุวงศ์
                บางเมืองก็ต่อต้านจนถูกประหาร เจ้าเมืองที่ถูกฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ประหารมีเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เขมราฐ ชัยภูมิ ภูเวียง ภูเขียว หล่มสัก และขุขันธ์ เมืองหลังนี้เคยให้ความร่วมมือดีมาก แต่ตอนหลังเกิดระแวงจึงถูกประหาร การประหารชีวิตเจ้าเมืองเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะเจ้าเมืองทุกแห่งมีญาติ พี่น้องบ่าวไพร่มาก และญาติพี่น้องส่วนมากก็เป็นผู้บริหารเมืองนั้นๆ ด้วย จึงเท่ากับเจ้าอนุวงศ์ทรงสร้างศัตรูขึ้นมากมาย
5. อาวุธของฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ปืนคาบศิลามีน้อย
                ตัวอย่างเช่นการรบที่ค่ายหนองบัวลำภู ค่ายนี้เป็นปราการป้องกันเวียงจันทน์ที่สำคัญมาก เป็นค่ายที่มีความกว้าง 640 เมตร และยาวถึง 1,200 เมตร รวมความยาวของกำแพงค่าย 3,680 เมตร แต่มีทหารรักษาค่ายเพียง 2,300 คน และมีปืนคาบศิลาเพียง 190 กระบอก และไม่มีปืนใหญ่เลย ทหารจำนวนหนึ่งไม่มีหอก ดาบ ปืน แต่ใช้กระบองและไม้ไผ่เสี้ยมปลายแหลมเป็นอาวุธ ที่ทหารเหล่านี้ไม่ได้รับแจกอาวุธดีๆ เพราะไม่มีอาวุธจะแจก หรือเพราะทหารเหล่านี้เป็นทหารเกณฑ์จากเมืองอื่นๆ ที่ไม่ค่อยแน่ใจในความจงภักดีนักก็ได้ (ทหารเวียงจันทน์และจัตุรัสเท่านั้นที่มีหอก ดาบ หรือปืนได้) หรือเป็นทั้งไม่ค่อยมีอาวุธจะแจกและไม่ค่อยไว้วางใจก็เลยไม่ได้รับอาวุธดีๆ
6. ความประมาทของฝ่ายเวียงจันทน์
                ในกรณีอพยพชาวโคราชทำให้เกิดการลุกฮือของชาวโคราชที่ทุ่งสำริด โจมตีทหารที่คุมมาตายเกือบหมด และทหารที่ส่งมาปราบก็ถูกโจมตีแตกกลับไปถึง 2 ครั้ง มีทหารฝ่ายเวียงจันทน์ตายในการสู้รบประมาณ 1,200-3,000 คน เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของฝ่ายเวียง จันทน์ น่าจะส่งผลให้ความมั่นใจในตัวเองและขวัญของฝ่ายนี้ลดลง เพราะชาวโคราชกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดเป็นชาวบ้านไม่ใช่ทหารก็ยังรบแพ้ ถ้ารบกับกองทหาร ไทยที่อาวุธเพียบพร้อมจะขนาดไหน การรบครั้งนั้นเป็นผลให้คุณหญิงโม ผู้นำการรบคนหนึ่งได้รับการยกย่องเป็นท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทย อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว นอกจากนี้น่าจะมีผลให้จำนวนสัดส่วนของทหารที่ควบคุมผู้อพยพสูงขึ้นในเวลาต่อ มา เพราะ จำนวนทหารที่ควบคุมขบวนผู้อพยพ 18,000 คน มีเพียง 200 คน หรืออัตราส่วนทหาร 1 คน ต่อผู้อพยพ 90 คน ซึ่งน้อยเกินไปจนเกิดความพ่ายแพ้ที่ทุ่งสำริด ซึ่งฝ่ายเวียงจันทน์ต้องจำไปนานแสนนาน
.........................................................................................................................................................................
กล่าวโดยสรุปความปราชัยของเจ้าอนุวงศ์
                เกิดจากการประเมินกำลัง พันธมิตรผิดพลาดเป็นอย่างมาก เพราะลำพังกำลังทหารฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ ก็มิอาจสู้กำลังทหารฝ่ายไทยอยู่แล้ว เจ้าอนุวงศ์ทรงฝากความหวังไว้กับอังกฤษ ซึ่งมิได้เป็นพันธมิตรโดยตรงของพระองค์ แต่เป็นพันธมิตรทางอ้อม หากอังกฤษโจมตีปากน้ำเจ้าพระยา ไทยจะต้องแบ่งกำลังส่วนใหญ่เอาไว้ต้านอังกฤษ นอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ยังทรงฝากความหวังไว้กับญวนว่าจะเข้าโจมตีทางปากน้ำ เช่นกัน แต่ทั้งอังกฤษและญวนมิได้โจมตีไทยดังที่คาดไว้ ทำ ให้ไทยทุ่มกำลังส่วนใหญ่มาทางอีสาน เจ้าอนุวงศ์ยังทรงฝากความหวังไว้กับหลวงพระบางและหัวเมืองล้านนาทั้งห้า หวังว่าจะช่วยพระองค์ตีไทยทางด้านเหนือ แต่ความเป็นจริงตรงกันข้าม หัวเมืองทั้งหกยกทัพมุ่งไปที่เวียงจันทน์ การถูกเจ้าเมืองอีสานหลายเมืองต่อต้าน จนต้องประหารชีวิตเจ้าเมืองถึง 6 เมือง ล้วนแต่มีผลในทางลบอย่างยิ่งต่อเจ้าอนุวงศ์
ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้พระองค์ทรงปราชัย ก็คือ
                ปริมาณอาวุธที่ทันสมัย เช่น ปืนคาบศิลาซึ่งเป็นอาวุธยาว ทหารฝ่ายไทยมีมากกว่า แม้อาวุธพื้นฐานคือหอก ดาบ ทหารส่วนหนึ่งของฝ่ายเวียงจันทน์ก็ไม่มี มีแต่กระบองและไม้ไผ่เสี้ยมปลายแหลม การกวาดต้อนประชากรอีสานกลับไปเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความทุกข์ยากต่อคนเหล่านี้จนหลายเมืองเกิดการต่อต้าน โดยเฉพาะการต่อต้านของชาวเมืองโคราช แล้วทหารฝ่ายเวียงจันทน์ปราบไม่ได้ทำให้ขวัญกำลังฝ่ายเวียงจันทน์ตกต่ำ และต้องนำทหารที่ต้องใช้รบมาคุมเชลยที่เหลือมากขึ้น ทำให้ทหารที่ใช้รบของฝ่ายเวียงจันทน์ลดลง
ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้เจ้าอนุวงศ์ทรงปราชัยในสงครามกู้ชาติครั้งนั้น
..........................................................................................................................................................................

(โดย สุวิทย์ ธีรศาศวัต ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น )
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม : ฉบับประจำเดือน กันยายน พ.ศ. 2549


http://www.photoontour.com/outbound/lao2/lao_detail2.htm
รวบรวมข้อมูลโดยศุภกิจ  ภิญโญทรัพย์
ครูศรช.สามสวนกลาง
ศูนย์กศน.อำเภอบ้านแท่น

ตามรอยพระแก้วมรกต

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต
                พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงเทพมหานครและอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ. 2327 เป็นต้นมา
ประวัติพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
                พระแก้วมรกตประดิษฐานครั้งแรกที่เมืองเชียงรายมีตำนานที่ควรเชื่อถือได้กล่าวว่าเมื่อ พ.ศ. 1977 ฟ้าผ่าเจดีย์องค์หนึ่ง ณ เมืองเชียงราย ได้ค้นพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งปิดทองคำทึบทั่วทั้งองค์ ก็สำคัญว่า เป็นพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงเชิญเข้าไปไว้ในวิหารที่วัดแห่งหนึ่ง แต่นั้นอีก 2-3 เดือน ปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มทั่วพระองค์นั้นกะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เจ้าอธิการในอารามนั้นได้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงามคือ หยกชนิดหนึ่ง จึงแกะต่อออกไปทั้งพระองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็นและทราบความว่า เป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งแท่งบริสุทธิ์ดี ไม่มีบุบสลาย หน้าตักกว้าง 48.3 ซม. สูงทั้งฐาน 66 ซม. คนชาวเชียงรายและเมืองอื่น ๆ ก็พากันไปบูชานมัสการมากมายประดิษฐานที่เมืองลำปาง 32 ปี
                ผู้รักษาเมืองเชียงรายได้มีใบบอกลงไปถึงพระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงเกณฑ์ขบวนไปรับเสด็จพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรขึ้นหลังช้างแห่เพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ ครั้นมาถึงทางแยกซึ่งจะไปเมืองนครลำปาง ช้างก็ตื่นหันไปทางนครลำปาง เมื่อหมอควาญบังคับช้างให้สงบลงแล้ว จึงพากลับมาทางแยกที่จะไปเมืองเชียงใหม่ ช้างก็ตื่นไปทางเมืองนครลำปางอีก จนภายหลังเมื่อนำช้างเชื่องรับเสด็จพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ช้างนั้นเมื่อมาถึงที่นั้นก็ตื่นคืนไปทางเมืองนครลำปางอีก ท้าวพระยาผู้ไปรับเห็นเป็นประหลาด จึงแจ้งไปถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่นับถือผีสางมาก จึงวิตกว่าชะรอยผีที่รักษาองค์พระจะไม่ยอมมาเมืองเชียงใหม่ ก็ยอมให้เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไปประดิษฐานที่วัดในเมืองลำปางนานถึง 32 ปี สันนิษฐานว่าคือ วัดพระแก้วดอนเต้าในปัจจุบันประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ 84 ปี
                ครั้น พ.ศ. 2011 พระเจ้าติโลกราช ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ดำริว่าเจ้าเชียงใหม่องค์ก่อน ยอมให้พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไปประดิษฐานอยู่เมืองนครลำปางนั้นไม่สมควรเลย น่าจะอาราธนากลับมาเมืองเชียงใหม่ แล้วจึงไปอาราธนาแห่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาเมืองเชียงใหม่ แล้วสร้างหอพระแก้วประดิษฐานไว้ในเมือง พระเจ้าเชียงใหม่ได้พยายามจะทำพระวิหารที่ไว้พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรให้เป็นปราสาทมียอดให้สมควร แต่หาสมประสงค์ไม่ เนื่องจากอสุนีบาตตกลงต้องทำลาย ยอดที่สร้างขึ้นหลายครั้ง จึงได้เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไว้ในพระวิหารมีซุ้มจระนำ อยู่ในผนังด้านหลัง สำหรับตั้งพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากร กับทั้งเครื่องประดับอาภรณ์บูชาต่าง ๆ มีบานปิดดังตู้เก็บรักษาไว้ เปิดออกให้คนทั้งปวงมนัสการเป็นคราว ๆ (บางตำนานก็กล่าวว่า พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในซุ้มทางทิศตะวันออกของเจดีย์หลวง ณ วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่) พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นานได้ 84 ปีประดิษฐานที่เมืองหลวงพระบาง 12 ปี
                ครั้น พ.ศ. 2094 พระเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งซึ่งครองเมืองในครั้งนั้นชื่อ พระเจ้าไชยเชษฐา เป็นบุตรพระเจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตหรือประเทศลาว ต่อมาพระเจ้าโพธิสารทิวงคต เกิดเหตุน้องพระเจ้าไชยเชษฐาชิงราชสมบัติกัน เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาให้กลับไปยังเมืองหลวงพระบาง เพื่อระงับเหตุจลาจล เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาไปนั้นไม่แน่ใจว่า จะประทับอยู่เมืองหลวงพระบางต่อไปหรือจะกลับคืนมายังเมืองเชียงใหม่อีก จึงเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย เมื่อ พ.ศ. 2095 อ้างว่าจะเชิญไปให้ญาติที่เมืองหลวงพระบาง ได้มนัสการและบำเพ็ญการกุศลครั้นพระเจ้าไชยเชษฐาไปถึงเมืองหลวงพระบาง เสนาบดี พร้อมกันเชิญให้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เพราะเหตุที่ครองทั้งประเทศล้านช้างและล้านนาด้วยกัน ฝ่ายข้างท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่ไม่พอใจที่จะเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงไปเชิญเจ้าเมกฏิ ณ เมืองนาย ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าเชียงใหม่แต่ก่อน มาครองเมืองเชียงใหม่ก็เกิดรบกับกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไม่สามารถจะปราบปรามเมืองเชียงใหม่ได้ จึงคงรักษาพระแก้วมรกตไว้ที่เมืองหลวงพระบางต่อมา 12 ปีประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ 214 ปี
                ถึง พ.ศ. 2107 พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ประเทศพม่ามีอำนาจมากขึ้น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นว่า ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงพระบางจะสู้ศึกพม่าไม่ได้ จึงย้ายราชธานีลงไปตั้งอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย พระแก้วมรกตจึงไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์แต่นั้นมาอีก 214 ปีประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นถึง พ.ศ. 2321 เมื่อรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี เกิดการสงครามขึ้นในระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุต ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เป็นจอมพลยกทัพขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้เมืองเวียงจันทน์แล้ว เชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทำการสมโภชแล้วโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในบริเวณพระราชวังเดิม ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ครั้นพระอุโบสถสร้างเสร็จจึงโปรดให้เชิญพระแก้วมรกตแห่มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระดำริสร้างเครื่องทรงถวายสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน เปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดู ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริสร้างเครื่องทรงฤดูหนาว จึงทรงเปลี่ยนเป็นเครื่องทรง 3 ฤดูกาลมาจนทุกวันนี้
ขนาดพระแก้วมรกต
1.1 ปางสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบ วางพระหัตถ์ขวาซ้อนพระหัตถ์ซ้าย
1.2 หน้าตักกว้าง 48.3 เซ็นติเมตร
1.3 สูงจากทับเกษตรถึงสุดพระเกตุมาลา 66 เซ็นติเมตร
พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตนั้นกระทำกัน 3 ครั้งต่อหนึ่งปี คือ
1. เครื่องทรงฤดูร้อน ทรงเปลี่ยน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4
2. เครื่องทรงฤดูฝน ทรงเปลี่ยน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
3. เครื่องทรงฤดูหนาว ทรงเปลี่ยน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12
......................................................................................................................................................
             พระแก้วมรกต  เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสของผู้คนในภูมิภาคแหลมทองมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่ดินแดนถิ่นนี้ยังเป็นอาณาจักรต่างๆ มิได้รวมกันเป็นประเทศอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอรวบรวมได้ว่าองค์พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในประมาณ ปี พ.ศ. 500 โดยพระนาคเสนเถระ เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย เข้ามาสู่ดินแดนของไทยครั้งแรกในอาณาจักรอโยธยา จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองชากังราวหรือกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเชียงรายเป็นเวลา 45 ปี จากนั้นก็อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่ลำปางอีก 32 ปี จากลำปางอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จ. เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี  จากเชียงใหม่ไปประดิษฐานที่ เมืองเวียงจันทร์ 225 ปี แต่เก่าก่อนตอนปลายสมัยอยุธยา เมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกหนักกับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทางเวียงจันทน์ถือโอกาศแข็งเมืองแยกตัวเป็นอิสระ จนกระทั่งพระเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้และตั้งราชธานีใหม่จึงได้ส่งเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ให้กลับมาเป็นเมืองขึ้นเหมือนเดิม ศึกครั้งนั้นทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาดจึงได้ อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่แผ่นดินไทย
ครั้งแรกเมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อยวัดอรุณราชวราราม  ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณฯ เป็นเวลา 5 ปี
             เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อชนะศึกเมืองเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาก็เกิดความยินดี ดั่งว่าพระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีคู่บ้านคู่เมือง    ครั้นเมื่อสิ้นกรุงธนบุรีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์ได้สำเร็จ และได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่มีชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์ นัยว่าเป็นชื่อที่มีที่มาจากพระแก้วมรกต   กรุง แปลว่า เมือง   รัตน  แปลว่าแก้ว  โกสินทร์  แปลว่าพระอินทร์ ซึ่งพระอินทร์จะมีองค์สีเขียว รวมระยะเวลาที่องค์พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2321 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลา 227 ปี
พระแก้วมรกต ท่านได้ไปประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นก็จะมีแต่ความสุขเจริญรุ่งเรือง  เมื่อมีสิ่งศักดิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองของเราแล้วก็ขอเชิญท่านทั้งหลายไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเอง
รอยประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระแก้วมรกต
             หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระแก้วมรกต มีทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดี  ในส่วนที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นได้ปรากฎอยู่ในเอกสารโบราณมากมาย อาทิเช่น เรื่องรัตน์พิมพ์วงค์ ตำนานพระแก้วมรกต เรื่องพระรัตนปฏิมา ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์   พงศาวดารเหนือ ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา  ตำนานพระแก้วมรกตฉบับหลวงพระบาง และพงศาวดารโยนก เป็นต้น
             จากเอกสารดังกล่าว  สามารถประมวลได้ว่า  พระแก้วมรกต สร้างขึ้นจากความดำริของพระนาคเสนเถระ  แห่งเมืองปาตลีบุตร  ในชมพูทวีป ( ประเทศอินเดียในปัจจุบัน ) เมื่อประมาณ พ.ศ.500  จากนั้นก็ได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามเมืองสำคัญต่างๆ  ตามลำดับ  ดังนี้
·    เกาะลัง   เมื่อประมาณปี  พ.ศ. ๘๐๐
·    เมืองนครธม   ในอาณาจักรขอมโบราณ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๐๐
·    เมืองอโยชปุระ หรือเมืองอโยธยาโบราณ  ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
·    เมืองกำแพงเพชร ในสมัยพระยะาวิเชียรปราการ
·    เมืองเชียงราย ในสมัยเจ้ามหาพรหม
·    นครเขลางค์ หรือเมืองลำปาง  ระหว่างปี ๑๘๗๙ - พ.ศ. ๒๐๑๑
·    เมืองเชียงใหม่   ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๑ - พ.ศ. ๒๐๙๖  ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
·    เมืองหลวงพระบาง  ในปี พ.ศ. ๒๐๙๖
·    เมืองเวียงจันทร์  จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๑
·    กรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๑ - พ.ศ. ๒๓๒๗
·    กรุงเทพมหานคร  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๓๒๗  จนถึงปัจจุบัน
ด้าน หลักฐานทางโบราณคดี  ปัจจุบันในภาคเหนือของประเทศไทยยังคงปรากฏร่องรอยในโบราณสถานที่เกี่ยวข้อง กับพระแก้วมรกตอยู่อย่างชัดเจนในหลายพื้นที่ ได้แก่
·    โบราณสถานวัดพระแก้ว ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
·    เจดีย์โบราณ  วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม  จังหวัดลำปาง
·    เจดีย์หลวง  ในวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
·    เจดีย์โบราณ  ในวัดพระแก้ว  จังหวัดเชียงราย
             เรื่องตำนานพระแก้วมีหลายฉบับอาจจะผิดพลาดในเรื่องของเวลาและการกำหนดปีพุทธศักราชอยู่บ้าง แต่สิ่งเป็นจริงที่แน่แท้ไม่ผิดเพี้ยนคือปัจจุบันนี้พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยของเรา ที่วัดพระแก้ว หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาติไทยมาช้านาน
             สถาน ที่ต่างๆ ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตล้วนมีความสำคัญในแง่ของความศรัทธาและ ความเชื่อของผู้คนท้องถิ่น  อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีศิลปะที่งดงามในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ ท้องถิ่น หากมีเวลาจึงขอเชิญชวนทุกท่านเดินท่องเที่ยวเยือนเมืองเหนือกราบรอยพระแก้ว มรกตเพื่อความเป็นสิริมงคลและยังได้ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ที่มีความสวยงามทั้งศิลปะวัฒนธรรมและธรรมชาติ
…………………………………………………………………………………………………………
พระแก้วมรกตความจริงวันนี้
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 
                จากหนังสือ พระแก้วมรกตของไทย รวบรวมและเรียบเรียง โดย  ธรรมทาส พานิช    การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองไชยา และเมืองนครศรีธรรมราชโบราณได้ก้าวหน้าเป็นอันมาก. เป็นอันลงร่องรอยเป็นอันดีว่า กรุงปาตลีบุตร ของตำนานพระแก้วมรกต คือเมืองไชยาโบราณ สมัยประมาณ พ.ศ. 1200 1300 อโศการาม ในตำนานพระแก้ว คือที่วัดแก้ว เมืองไชยา ......... เมืองไชยาในสมัยนั้นเป็นศูนย์กลางของความเจริญของพุทธศาสนา ของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สมเด็จพระอมรินทราธิราช ผู้ไปหาก้อนแก้วมาได้ คือพระอินทร์ เมื่อพระวิษณุกรรมเทพบุตรเจริญวัยพอที่จะโดยเสด็จพระบิดา ทรงม้าไปขอก้อนแก้วมรกต ถึงเหมืองแก้วในแดนยุนนาน ( ราชคตฤห์ ในตำนานไทย ) พระวิษณุกรรมเทพบุตร คือพระมหาราชวิษณุ ตามที่มีจารึกพระนามไว้ในจารึกวัดเวียงเมืองไชยา ด้านหลังว่า วิษณวาขโย จารึก พ.ศ. 1318  
                ตำนานพระแก้วมรกคตของไทย... เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า คนไทยโบราณ ( ขอม ) เป็นเจ้าของดินแดนพระนครวัด นครธม. ไม่มีตำนานพระแก้วมรกตในอินเดีย ในลังกาเลย. เพราะว่าพระแก้วมรกตนี้ กษัตริย์ไทยโบราณได้สร้างขึ้นไว้ที่กรุงปาตลีบุตร เมืองไชยา ของไทยนี่เอง..............   
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงเครื่องทรงทั้งสามฤดู
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงเครื่องทรงทั้งสามฤดู
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเต็ม
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ชื่อสามัญ
พระแก้วมรกต
พระพุทธรูป
ศิลปะ
ขนาด
ความกว้าง
ความสูง

19 นิ้ว
28 นิ้ว
วัสดุ
สถานที่ประดิษฐาน
ประธานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ความสำคัญ
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ กรุงรัตนโกสินทร์
หมายเหตุ

บทความนี้เกี่ยวกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สำหรับพระแก้วองค์อื่นๆ ดูที่ พระแก้ว

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง แต่เมื่อพระสงฆ์อัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงได้ทรงยึดพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนให้แก่ลาว
ตำนานพระแก้วมรกต
พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ทรงมีพระราชโองการ ให้ส่งพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย
หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน
ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด
......................................................................................................................................................
                เพื่อนๆหลายคนคงรู้จักหรือเคยนมัสการองค์พระแก้วมรกตกัน มาแล้วแต่อีกหลายๆคน คงยังไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวความเป็นมาของพระแก้วมรกตพระคู่บ้านคู่ เมืองของคนไทยและประวัติการเดินทางอันยาวนาน ก่อนที่จะมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว ในปัจจุบันค่ะ
                พระแก้วมรกต   เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสของผู้คนมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่ดินแดนถิ่นนี้ยังเป็นอาณาจักรต่างๆ มิได้รวมกันเป็นประเทศอย่างในปัจจุบัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอรวบรวมได้ว่าองค์พระแก้วมรกตสร้างขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. 500 โดยพระนาคเสนเถระ เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย เข้ามาสู่ดินแดนไทยครั้งแรกในอาณาจักรอโยธยา จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองชากังราวหรือกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นเวลา 45 ปี จากนั้นก็อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่ลำปางอีก 32 ปี จากลำปางอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จ. เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี   จากเชียงใหม่ไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ 225 ปี
http://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/sc_29_clip_image004.jpgในตอนปลายสมัยอยุธยา เมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทางเวียงจันทน์ถือโอกาสแข็งเมืองแยกตัวเป็นอิสระ จนกระทั่งพระเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้และตั้งราชธานีใหม่ จึงได้ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ให้กลับมาเป็นเมือง ขึ้นดังเดิม ศึกครั้งนั้นทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาดจึงได้ อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่แผ่นดินไทย
ครั้งแรกเมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังประเทศไทยใน สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม   ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณฯ เป็นเวลา 5 ปี
                เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อชนะศึกเมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาก็เกิดความยินดี ดั่งว่าพระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีคู่บ้านคู่เมือง   ครั้นเมื่อสิ้นกรุงธนบุรีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหา กษัตริย์ได้สำเร็จ และได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่มีชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์ นัยว่าเป็นชื่อที่มีที่มาจากพระแก้วมรกต    กรุง แปลว่า เมือง    รัตน   แปลว่าแก้ว   โกสินทร์   แปลว่าพระอินทร์ ซึ่งพระอินทร์จะมีองค์สีเขียว พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2321 จนถึงปัจจุบัน
รอยประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระแก้วมรกต
                หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระแก้วมรกต มีทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดี   สามารถประมวลได้ว่า   พระแก้วมรกต สร้างขึ้นจากความดำริของพระนาคเสนเถระ   แห่งเมืองปาตลีบุตร   ในชมพูทวีป ( ประเทศอินเดียในปัจจุบัน ) เมื่อประมาณ พ.ศ. 500  จากนั้นก็ได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามเมืองสำคัญต่างๆ   ตามลำดับ   ดังนี้
•  เกาะลัง    เมื่อประมาณปี   พ.ศ. ๘๐๐
•  เมืองนครธม    ในอาณาจักรขอมโบราณ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๐๐
•  เมืองอโยชปุระ หรือเมืองอโยธยาโบราณ   ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
•  เมืองกำแพงเพชร ในสมัยพระยาวิเชียรปราการ
•  เมืองเชียงราย ในสมัยเจ้ามหาพรหม
•  นครเขลางค์ หรือเมืองลำปาง   ระหว่างปี ๑๘๗๙ - พ.ศ. ๒๐๑๑
•  เมืองเชียงใหม่    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๑ - พ.ศ. ๒๐๙๖   ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
•  เมืองหลวงพระบาง   ในปี พ.ศ. ๒๐๙๖
•  เมืองเวียงจันทน์   จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๑
•  กรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๑ - พ.ศ. ๒๓๒๗
•  กรุงเทพมหานคร   ตั้งแต่ปี   พ.ศ. ๒๓๒๗   จนถึงปัจจุบัน
                ด้านหลักฐานทางโบราณคดี   ปัจจุบันในภาคเหนือของประเทศไทยยังคงปรากฏร่องรอยในโบราณสถานที่เกี่ยวข้อง กับพระแก้วมรกตอยู่อย่างชัดเจนในหลายพื้นที่ ได้แก่
•  โบราณสถานวัดพระแก้ว ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
•  เจดีย์โบราณ   วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม   จังหวัดลำปาง
•  เจดีย์หลวง   ในวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
•  เจดีย์โบราณ   ในวัดพระแก้ว   จังหวัดเชียงราย
                สถาน ที่ต่างๆ ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตล้วนมีความสำคัญในแง่ของความศรัทธาและ ความเชื่อของผู้คนท้องถิ่น   อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีศิลปะที่งดงามในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ ท้องถิ่น เมื่อพระแก้วมรกตได้ไปประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นก็จะมีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เมื่อมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองของเราแล้ว เราชาวไทยก็ควรไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเองนะคะ และหากเรามาเยือนเมืองเหนือ แวะกราบรอยพระแก้วมรกตเพื่อความเป็นสิริมงคล และเก็บเกี่ยวประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ประทับใจอีกรูปแบบหนึ่งนะคะ
เรามาลองตามรอยพระแก้วมรกต ยังที่ที่เคยประดิษฐานอยู่ในอดีตกันค่ะ

http://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/sc_29_clip_image006.jpgวัดพระแก้วเมืองกำแพงเพชร
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ใจกลางเมืองของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลก อยู่ติดกับตัวเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน ผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเมือง ภายในวัดปรากฎร่องรอยฐานเจดีย์แบบต่างๆ รวม 35 ฐาน วิหารต่างๆ รวม 8 แห่ง และฐานโบสถ์รวม 3 แห่ง ซึ่งแสดงถึงการเป็นวัดใหญ่ที่มีความสำคัญมากมาก่อน บริเวณกลางวัดมีเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่แบบลังกาเป็นเจดีย์ประธาน

http://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/sc_29_clip_image014.jpghttp://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/i_bus.gifการเดินทาง
วัดพระแก้ว บริเวณอุทยาประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อยู่ติดกับตัวเมืองกำแพงเพชร เมื่อเข้าตัวเมืองมีทางแยกซ้าย มีป้ายบอกชัดเจน หากต้องการนั่งรถรางชมอุทยานประวัติศาสตร์ สามารถติดต่อที่ได้สถานีรถราง หน้าที่ทำการเทศบาลริมแม่น้ำปิง
 
กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- นั่งรถรางชมเมืองเก่าโดยรอบทั้งภายในบริเวณกำแพงเมืองและนอกเมือง มีการบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของแต่ละสถานที่
- เที่ยวชมน้ำตกคลองลาน พักผ่อน เล่นน้ำ
http://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/sc_29_clip_image010.jpgวัดพระแก้ว จ. เชียงราย
วัดพระแก้ว เป็นอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ในตัวเมืองเชียงราย แต่เดิมมีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย เยี้ยแปลว่าไม้ไผ่ บริเวณที่ตั้งวัดเป็นป่าไผ่จึงตั้งชื่อตามที่มา
พระอุโบสถวัดพระแก้วในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระ ประธาน คนเชียงรายเรียกกันว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงรายเคารพนับถือเป็นอันมาก แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504
พระแก้วหยก เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2534 ชาวเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดพระแก้ว เรียกว่า พระหยกเชียงราย
การเดินทาง เมื่อถึงห้าแยกพ่อขุนเม็งรายกลางตัวเมืองเชียงรายให้เลี้ยวซ้ายแล้วตรงไป เรื่อยๆ จนสุดทางสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นวัดพระแก้วอยู่ทางขวามือ
กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- กราบรอยพระแก้วมรกตที่องค์เจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคล , กราบขอพรพระเจ้าล้านทอง , กราบนมัสการพระหยก
- เช่ารถขึ้นไปเที่ยวสวนดอกไม้ดอยตุง ชมตำหนักสมเด็จย่า
- ไปสามเหลี่ยมทองคำ นั่งเรือหางยาวล่องลำน้ำโขง แล้วไปทานอาหารอร่อยริมน้ำโขงที่ตัวเมืองเชียงแสน
วัดพระแก้วดอนเต้า จ. ลำปาง
                วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนสุชาดา ภายในเมืองลำปาง เป็นวัดเก่าแก่สวยงาม มีอายุนับพันปี ปู ชนียสถานที่สำคัญของวัดได้แก่
•  องค์พระบรมธาตุดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
•  วิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีอายุเก่าแก่
•  วิหารพระเจ้าทองทิพย์ สร้างโดยพระนางจามเทวี อายุเก่า 1000 ปี เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ศิลปะสมัยเชียงแสน
•  มณฑปศิลปะแบบพม่า
กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- ไหว้พระ นั่งรถม้ารอบเมือง เยี่ยมชมโรงงานเซรามิค ซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิคราคาโรงงาน
- ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ อาบน้ำแร่แช่น้ำพุร้อนที่บ่อน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน
http://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/sc_29_clip_image008.jpgวัดเจดีย์หลวง จ. เชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดของเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมือง มหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงค์มังราย ต่อมาพระเจ้าติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่ซุ้มจรนัมทางด้านทิศตะวันออกระหว่างปี พ.ศ. 2011-2096
ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
http://guide.kapook.com/travel/sc_29_files/i_bus.gifการเดินทาง
วัดเจดีย์หลวงอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ เป็นเส้นทาง One Way เป็นส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเรียกใช้บริการรถสองแถวแดง ท่านละ 10 บาท หรือเหมาไป ราคา 50-80 บาท แล้วแต่ตกลงกัน 
                ในที่สุดก็แวะกราบรอยพระแก้วมรกตกันมาจนครบทุกวัดใน ประเทศไทยเลยนะคะ หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้ความรู้และได้ความสุขใจเพิ่มพูนกันไปไม่มากก็น้อย และอย่าลืมนะคะ หากมีโอกาสได้ไปแอ่วเมืองเหนือ ลองแวะนมัสการพระแก้วมรกตตามที่เราได้เยี่ยมชมกันมา ก็จะได้ความประทับใจไม่น้อย หรือว่างๆ มีโอกาส เที่ยววัดใกล้ๆ บ้าน ทำบุญ ไหว้พระ ก็สุขใจไปอีกแบบนะคะ...
……………………………………………………………………………………………………….
                เพื่อนๆ ทราบหรือเปล่าครับว่าก่อนที่ พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย จะมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างที่เราทราบกันในปัจจุบัน ได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองสำคัญต่างๆ อาทิ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ฯลฯ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาทิ ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา พงศาวดารเหนือ ตำนานพระแก้วมรกตฉบับหลวงพระบาง หรือ แม้แต่พงศาวดารโยนก ระบุว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นจากดำริของพระนาคเสนเถระแห่งเมืองปาฏลี บุตรในชมพูทวีปราว พ.ศ. 500 ต่อมาเกิดสงครามกับพวกนอกศาสนา จึงได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตไป ประดิษฐานยังเกาะลังกาเป็นเวลาร่วม 200 ปี


อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร
สำหรับ การที่พระแก้วมรกตมาประดิษฐานในประเทศไทยนั้นคาดว่ามีการอัญเชิญมาตั้งแต่ สมัยอโยธยา โดย ปรากฏหลักฐานชัดเจนที่สุดคือที่ วัดพระแก้ว ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณ
อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร วัดแห่งนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์แห่งกรุงศรีอยุธยา

วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
http://www.holidaythai.com/chiang_rai_attractions_detail_71.htm
                  เหตุการณ์ ในขณะนั้นคือมีการมอบพระแก้วมรกตแก่เจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงที่บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย เจ้าเมืองเชียงรายจึงเอาปูนฉาบทาองค์พระแก้วมรกต พร้อมลงรักปิดทองซ่อนไว้ในเจดีย์โบราณ วันเวลาผ่านไปเกิดฟ้าผ่าลงมาที่กลางองค์เจดีย์ ชาวบ้านพบว่ามีพระพุทธรูปซ่อนอยู่ ในเวลาต่อมาเกิดรอยกะเทาะของปูนชาวบ้านจึงช่วยกันเอาปูนออก และพบว่าเป็นพระแก้วสีเขียวมรกต จึงอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัด และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดพระแก้ว ปัจจุบันแม้วัดพระแก้วซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงรายแแห่งนี้จะไม่มีพระแก้วมรกตองค์จริงประดิษฐานอยู่ แต่ชาวเชียงรายได้ร่วมกันสร้างพระหยกสีเขียวจำลองพระแก้วมรกตองค์จริงให้ ประชาชนได้สักการะสืบต่อมา


วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
http://www.holidaythai.com/lampang_attractions_detail_683.htm

                จากเชียงราย มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ แต่ครั้นขบวนมาถึงเมืองเขลางค์นคร หรือลำปางในปัจจุบันช้างเผือกที่อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับวิ่งเตลิดเข้าเมือง ลำปาง ควาญช้างจะลากจูงกลับเชียงใหม่อย่างไรก็ไม่สำเร็จ ทำให้พระแก้วมรกตต้องไปประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำปาง ณ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นเวลาถึง 32 ปี

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
http://www.holidaythai.com/chiang_mai_attractions_detail_2873.htm
ต่อมาในสมัยพรเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน ณ พระธาตุเจดีย์หลวง
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

หอพระแก้วเมืองเวียงจันทน์
เมื่อพระเจ้าไชยเชษญาธิราชซึ่งเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ต้องไป ครองเมืองหลวงพระบาง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานยังหลวงพระบางด้วยกระทั่ง 12 ปี ผ่านไป พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชย้ายราชธานีไปอยู่ที่เวียงจันทน์ จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน ณ หอพระแก้ว ที่เวียงจันทน์ เป็นเวลาถึง 226 ปี

วัดอรุณราชวรราม วัดแจ้ง
http://www.holidaythai.com/bangkok_attractions_detail_143.htm
พระ แก้วมรกตกลับคืนสู่สยามประเทศอีกครั้ง เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) รบชนะเวียงจันทน์จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาประดิษฐานที่วัดแจ้ง (
วัดอรุณราชวราราม) กรุงธนบุรี

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้ว
http://www.holidaythai.com/bangkok_attractions_detail_334.htm
ภาย หลังเมื่อทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 14 ปีมะโรง พ.ศ. 2327 นับถึงปัจจุบัน (2553) เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 226 ปี

พระแก้วมรกตได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้
- เกาะลังกา ประมาณ พ.ศ. 800
- เมืองนครธมแห่งอาณาจักรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. 1000
- เมืองอโยธยาในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
- เมืองกำแพงเพชรในสมัยพระยาวิเชียรปราการ
- เมืองเชียงรายในสมัยเจ้ามหาพรหมประมาณ พ.ศ. 1979
- นครเขลางค์หรือเมืองลำปาง ระหว่าง พ.ศ. 1979 - 2011
- เมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ระหว่าง พ.ศ. 2011 - 2096
- เมืองหลวงพระบาง พ.ศ. 2096
- กรุงเวียงจันทน์ ระหว่าง พ.ศ. 2096 - 2322
- กรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2322 - 2327
- กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2327 ถึง ปัจจุบัน


โพสต์โดย : http://www.holidaythai.com/pictures/668/10002_4cd74d8d0a60d_ava.jpegนายกิมจ๊อ [ 29 มิ.ย. 53 19:09 ]

#1
                   ตำนานที่คุณกิมจ้อ เล่ามานี้เป็นตำนานของคนไทยในระยะหลังครับ แต่นักโบราณคดีชาติ อื่น ๆ อาจมีความเห็นแตกต่างกันออกไป เป็นไปได้ว่าพระแก้วมรกตถูกสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 500 หรือกว่า 1500 ปีมาแล้ว ตอนนั้นยังไม่มีอาณาจักรไทยที่เป็นรูปเป็นร่างหรอกครับ อุตสาหกรรมเหมืองหยก หรืออัญมณีมรกตก็ไม่มีในภูมิภาคนี้ในสมัยนั้น แหล่งหยก หรือมรกตที่จะหาอัญมณีสีเขียวขนาดใหญ่ขนาดนั้นเมื่อ 1500 ปีก่อนมีที่เดียวคือ อาณาจักรน่านเจ้า หรือเมืองต้าลี่ในยูนนานเท่านั้นครับ
                      ว่ากันว่าฝีมือแกะสลักพระพุทธรูปแบบนี้ก็มีอยู่ที่ตอนใต้ของจีนที่เดียว เพราะสมัยนั้นการสลักพระพุทธรูปจะใช้ปูนปั้น หรือหินชนิดอื่น ในศรีลังกา พม่า และอินเดียก็ใช้หินทราย หินศิลาแลง หรือสัมฤทธิ์ ไม่มีใครใช้หยกเลยนอกจากคนจีน พระพักต์ของพระแก้วมรกต (ตอนถอดเครื่องทรง) ก็จะเป็นศิลปแบบจีนยูนนานด้วยครับถ้าสังเกตให้ดี ยิ่งไปกว่านั้น ความมหัศจรรย์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้คือ ในองค์พระแก้วมรกตนั้น มีช่องกลวงบรรจุพระอุรังคธาตุหรือกระดูกพระอุระของ พระพุทธเจ้า ซึ่งถูกอัญเชิญจากอินเดียผ่านมาทางพม่า องค์พระแก้วถูกแกะสลักจากหินสีเขียวก้อนเดียวและบรรจุพระอุรังคธาตุโดยไม่มี รอยตัดเชื่อมต่อเลย เทคโนโลยีนี้เป็นความลับที่สูญหายไปของชาวจีนโบราณยุคนั้นครับ
                     นักโบราณคดีจีนมีหลักฐานหลายอย่างที่เชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตถูกสร้างอยู่ ที่เมืองต้าลี่สมัยอาณาจักรน่านเจ้ารุ่งเรืองเมื่อ 1500 ปีก่อน แต่ปกปิดเรื่องนี้ไม่ให้รู้ถึงจักรพรรดิจีน  ต่อมาจักรพรรดิจีนได้ยินข่าวว่าต้าลี่มีสมบัติล้ำค่า ก็ยกทัพจะมายึดไป ชาวน่านเจ้าก็แอบนำพระแก้วลงมาทางใต้ มาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วในเมืองเชียงรุ้ง มีวัดพระแก้วอยู่ที่เชียงรู้งและมีอายุมาแล้วประมาณ 1300 ปี
                             เมื่ออิทธิพลของกองทัพจีนมารุกรานถึงเชียงรุ้ง พระแก้วมรกตก็ลักลอบหนีมาอยู่ที่เมืองเชียงตุง และคาดว่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดพระแก้วในเมืองเชียงตุงมาเกือบ 300 ปี โดยที่ปกปิดไว้ไม่ให้รู้ว่าองค์พระเป็นมรกต ต่อมาเมื่อไม่ถึง 900 ปีมานี้มีการค้นพบว่ามีพระแก้วมรกตที่หุ้มด้วยปูนซ่อนอยู่ในเจดีย์ของเมือง เชียงราย ซึ่งอยู่พ้นจากอิทธิพลของกองทัพจีน พระแก้วมรกตจึงถูกเปิดเผยออกมาสู่ประวัติศาสตร์ของไทยโดยไม่ต้องซุกซ่อนอีก ต่อไป
                 มีร่อยรอยหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ในวัดพระ แก้ว 9 วัด และแต่ละวัดสามารถระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนได้ และมีพระแท่น หรือจุดที่วางพระแก้วมรกตไว้ที่แน่ชัด ได้แก่
1. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงรุ้ง (ปัจจุบันพึ่งถูกรัฐบาลจีนรื้อถอนออกไปแล้ว)
2.  วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงตุง (ปัจจุบันได้นำพระองค์อื่นวางไว้แทนองค์พระแก้วมรกต)
3. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงราย
4.  วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงใหม่
5. วัดพระแก้ว ในเมืองลำพูน
6. วัดพระแก้ว ในเมืองลำปาง
7. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงทอง หรือปัจจุบันคือหลวงพระบาง
8. วัดพระแก้ว ในเมืองเวียงจันทร์ และ
9. วัดพระแก้ว ใน กทม.
                     ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่ลังกา เมืองนครธมในเขมร เมืองกำแพงเพชร และเมืองอโยธยาโบราณ นอกจากความเชื่อที่จำกันมา แม้ว่าจะมีวัดพระแก้วในอยุธยาและกำแพงเพชรก็ตาม แต่น่าจะเป็นวัดที่สร้างใหม่ภายหลังอายุไม่เกิน 400 -500 ปี ซึ่งช่วงเวลานั้นเป้นที่แน่ชัดว่าพระแก้วมรกตอยู่ที่เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง
                      ปัจจุบันโอกาสที่เราจะเห็นองค์จริง ๆ (Model พระพักตร์และลวดลายแกะสลัก) ของพระแก้วมรกตนั้นมีน้อนมาก เพราะเรานำเครื่องทรง 3 ฤดู ไปสวมและปกปิดความมหัศจรรย์ขององค์พระจริง ๆ ครับ และช่างสลักของไทย เขมร พม่า รวมทั้งล้านนาในทุกสมัยก็มิเคยมีฝีมือสลักพระพุทธรูปในรูปแบบนี้


ตอบโดย : guest [ 3 ก.ย. 53 14:46 ]

#2
ผู้ที่ได้ไปสักการะวัดพระแก้วครบทั้ง 9 วัด ใน 9 ดินแดนพุทธนี้จะมีอนิสงค์ในการอธิฐานใด ๆ ครับ ผมได้ประสบความสำเร็จมาแล้ว

ตอบโดย : ผู้แสวงบุญ [ 3 ก.ย. 53 14:54 ]

#3
มีใครพอจะมีรูปให้ดูทั้งด้านหน้าและก็ด้านหลังของพระแก้วมรกตไหมครับ อยากเห็นมากๆ

ตอบโดย : John [ 18 ก.ย. 53 12:02 ]

#4
http://www.holidaythai.com/i/smiley/21.gifดีมากเลบคับความรู้นี้http://www.holidaythai.com/i/smiley/21.gif

ตอบโดย : friend [ 6 ต.ค. 53 20:42 ]

#5
http://www.holidaythai.com/i/smiley/36.gifhttp://www.holidaythai.com/i/smiley/39.gifใครที่ไปกราบไหว้จะประสบผลสำเร็จทุกประการhttp://www.holidaythai.com/i/smiley/03.gifhttp://www.holidaythai.com/i/smiley/39.gif


ตอบโดย : friend [ 6 ต.ค. 53 20:45 ]

#6
เอาอีกข้อมูลหนึ่งจากบทความของนักประวัติศาสตร์ที่เขาเขียนไว้มาให้อ่านใหม่
ประวัติของพระแก้วมรกต

                พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวแวววาวดังมรกต แต่ขุ่นทึบแสง เกือบใสทั้งก้อน เป็นหินธรรมชาติจากเทือกเขาสูง องค์พระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พระพักตร์อิ่มเอิบ มีพระอุณหิสระหว่างพระขนง พระเมาลีตูม พระกรรณยาว พระนาสิกโด่ง ประทับนั่งซ้อนพระบาทขวาบนพระบาทซ้าย และว่างพระหัตถ์ขวาบนพระหัตถ์ซ้ายเหนือบนหน้าตัก จีวรแนบพระมังสะเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย สังฆาฏิพาดบนพระอังสะซ้ายห้อยลงมา ขนาดหน้าตักกว้าง 43 เซนติเมตร หรือ 17 นิ้ว สูง 55 เซนติเมตร หรือ 21 นิ้ว ภายใต้ฐานที่ประทับมีเศษหินเนื้อแก้วมิได้ตัดให้ราบยื่นยาวออกไปสำหรับ บังคับให้ต้องวางบนพื้นที่เจาะ เพื่อมิให้องค์พระเคลื่อนจากที่ตั้ง โดยมีความยาว 28 เซนติเมตร (คนทั่วไปไม่ค่อยรู้เพราะจะต้องยกองค์พระขึ้นดูจึงจะเห็น) บนพระอุณาโลมของพระแก้วมรกต เดิมมีเพชรเม็ดเล็กๆ ฝังอยู่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชศรัทธาในองค์พระแก้วมรกตมาก ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ถวายเพชรเม็ดใหญ่ขนาดเท่าเม็ดบัว น้ำบริสุทธิ์งดงามมาเปลี่ยนใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2397 (เชื่อว่าเพชรเม็ดเดิมก็มาฝังไว้ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งนครเชียงใหม่ เพราะแต่เดิมคงจะไม่ได้มีเพชรเม็ดนี้อยู่)
               สำหรับ พระพุทธลักษณะของพระแก้วมรกตนั้นยังไม่มีผู้ใดลงความเห็นแน่ชัดลงไปได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยใด บางพวกก็เชื่อตำนานพระแก้วมรกตซึ่งเขียนเป็นภาษามคธ (เขียนในสมัยกรุงธนบุรี)  ก็พากันสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยฝีมือช่างอินเดียและลังกา แต่มีนักศิลปโบราณคดีบางท่านตั้งข้อสังเกตว่า ทรวดทรง พระพักตร์ของพระแก้วมรกต มีความละม้ายคล้ายกับพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนตอนปลาย ที่เรียกกันว่า สิงห์สามมาก จึงทำให้น่าเชื่อจะสร้างขึ้นในยุคนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องราวของพระ แก้วมรกตไว้ และยังทรงสันนิษฐานด้วยว่า พระแก้วมรกตนี้เป็นฝีมือช่างทางเมืองฝ่ายเหนือของไทย อันเป็นฝีมือช่างเชียงแสนนั่นเอง เมื่อปี พ.ศ. 2455 กรมศิลปกรได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี นายช่างผู้เชี่ยวชาญศิลปะชาวอิตาเลียน ซึ่งเข้ามารับราชการอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ศึกษารูปทรงของของพระแก้วมรกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน ท่านศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี สรุปความเห็นเกี่ยวกับพุทธลักษณะของพระแก้วมรกตไว้ว่า น่า จะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นในอาณาจักรลานนาไทย หรือเป็นฝีมือช่างทางเมืองเหนือของไทย ถ้าจะจัดยุคสมัยทางโบราณคดี พระแก้วมรกตน่าจะสร้างขึ้นในสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง ไม่ใช่ฝีมือช่างชาวต่างประเทศ ดังเข้าใจมาแต่เดิม”  แต่ ก็มีข้อโต้แย้งว่าเนื้อหินมรกตขององค์พระนี้ มีอายุเก่าแก่กว่ายุคเชียงแสน น่าจะถูกแกะสลักมาแล้วประมาณสองพันปีแล้ว ซึ่งมิใช่ช่างฝีมือแบบคนไทยอย่างแน่นอน
                ทั้งนี้ จากหลักฐานประวัติศาสตร์ของไทย ต่างระบุตรงกันว่า พระแก้ว (คำเรียกเดิม) องค์นี้พบครั้งแรก ในพ.ศ. 1979 ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ นครเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง ซ่อนอยู่ภายในเจดีย์เก่า ต่อมาองค์พระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าพังลง  ชาว บ้านและพระสงฆ์จึงอัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ภายหลังปูนบริเวณพระนาสิกได้เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อหินสีเขียวมรกต จึงกะเทาะปูนออกทั้งองค์ ปรากฏเป็นองค์พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
               หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ (นครพิงค์) ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้  จึงขออัญเชิญมาใส่หลังช้างจะมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ ด้วยว่าเชียงใหม่เป็นเมืองเอกมีความเข้มแข็งกว่า แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ หากเดินเลี้ยวไปทางเมืองลำปาง (เขลางค์นคร) แทน แม้จะเปลี่ยนช้างเชือกอื่นให้ไปเมืองเชียงใหม่ ช้างก็ยังเลี้ยวไปเมืองลำปางถึงสามครั้ง  ทางเชียงใหม่ก็เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนา จึงยอมให้นำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า นครลำปางก่อนถึง 32 ปี จนถึง พ.. 2011 สมัยพระเจ้าติโลกราช ก็ค่อยอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ โดยผ่านเส้นทางเมืองลำพูนและประดิษฐานให้ชาวเมืองลำพูน (หริภุณชัย) สักการะก่อนประมาณ 2 ปี เมื่อองค์พระแก้วมรกตมาถึงเมืองเชียงใหม่ก็ได้มีการเตรียมการสร้างปราสาทเพื่อ ประดิษฐานองค์พระแก้วไว้ล่วงหน้า แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้งทำให้ไม่ปรากฏร่องรอยปราสาทหอพระแก้วของเดิมในสมัย นั้น พระแก้ว หรือพระแก้วมรกตได้ ประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่อยู่ 86 ปี จนกระทั่งครั้นเมื่อถึง พ.ศ. 2095 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นญาติวงศ์กับราชวงศ์ล้านนาโดยมาอภิเศกสมรสกับพระราชธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ครั้นตอนพระเจ้าไชยเชษฐาจะเสด็จไปครองเมืองหลวงพระบาง (เมืองเชียงทอง)  ก็ได้แอบอัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย และได้นำไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง 12 ปี   แต่ด้วยเกรงว่าเมืองหลวงพระบาง  หรือ เมืองเชียงทองในสมัยนั้นจะถูกรุกราน จากล้านนาและพม่า เพื่อแย่งองค์พระแก้วไป อาณาจักรล้านช้างจึงย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาที่เวียงจันทน์ โดยถือว่าเวียงจันทร์เป็นแคว้นเอกราช ไม่เกี่ยวข้องกับล้านนาอีกต่อไป โดยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาที่นครเวียงจันทร์ด้วย ใน พ.. 2107 พระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ อีก 214 ปี
              จนกระทั่งใน พ.. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ต่อมาคือรัชกาลที่ 1) อัญเชิญพระแก้วมรกต   มาจากเวียงจันทน์เพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ. 2327  และโปรดให้เรียกว่าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จนถึงปัจจุบัน
               มีตำนานเรื่องเล่าขานถึงที่มาที่ไปขององค์พระแก้วมรกต โดยคนไทยสมัยก่อนเชื่อว่า พระแก้วมรกตนี้ สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ เป็นพระอรหันต์วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ ประเทศอินเดีย (เมนันเดอร์) โดยเชื่อว่ามีสมเด็จพระอมรินทราธิราช (พระอินทร์ที่เป็นใหญ่) พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ผู้เป็นเทพบนสวรรค์ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก มีสีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน และถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 7 องค์ (ชิ้น) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้แก่ พระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวา พระเพลาซ้าย และพระเพลาขวาลงไปในองค์พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต โดยไม่มีรอยตัดต่อของเนื้อหินเลย  เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วก็อัญเชิญขึ้นประดิษฐานให้ประชาชนสักการะ ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนจึงได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
              ตำนานนี้ยังเล่าต่อว่า ในพุทธศักราช 800 สมัยแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐ์ราชโอรสในพระเจ้าตักละราช  ซึ่ง ได้ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตรในช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค คือมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอกจู่โจม พุทธศาสนิกชนในเมืองปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ได้นำพระแก้วมรกตลงเรือสำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป (เกาะศรีลังกา)  เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น (ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตมาเก็บรักษาเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรที่ลี้ภัยเป็นอย่างดี  ในประมาณปีพุทธศักราช 1000 สมัยแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช หรือในภาษามอญคือ มังมหาอโนรธาช่อ เป็น กษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดี ได้มีพระราชโองการ ส่งพระราชสารและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตได้ถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร (นครธม) แห่งแคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย พระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี)  ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช ได้เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงเมืองอยุธยาในสมัยโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จไปเองโดยกระบวนพยุหยาตรา เพื่อไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันต์ปราสาท  (ไม่สามารถระบุปี พ.ศ.ได้)  และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาต่อมาในอีกหลายรัชสมัย
               ภาย หลังเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้ทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งว่ากันว่า ปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยาง แห่งเชียงแสนได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรก็ยอมมอบให้นครเชียงแสน  ต่อมานครเชียงแสน ได้เกิดมีศึกกับเมืองศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้า ผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระ พุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงราย จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้  ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเชียงรายและอาณาจักรล้านนาในที่สุด  พระนามพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจึงหายสาบสูญไปแต่นั้นมา   ในปี พ..1979  ได้ เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์นั้น ชาวเมืองเชียงรายจึงได้พบเห็นพระพุทธรูปลงรักปิดทองโบราณ และต่อมาปูนที่ลงรักปิดทองได้กะเทาะออก กลายเป็นการค้นพบพระแก้วมรกตในแผ่นดินไทยเมื่อประมาณ 570 ปีที่ผ่านมาเอง  
                 แต่ นักโบราณคดีชาติ อื่น ๆ อาจมีความเห็นเกี่ยวกับพระแก้วมรกตแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ น่าจะเป็นไปได้ว่าพระแก้วมรกตถูกสร้างขึ้นในราว 500 ถึง 800 ปี หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพาน  หรือไม่น้อยกว่า 1500 ปีมาแล้ว ตอนนั้นยังไม่มีอาณาจักรไทยที่ชัดเจน  ใน ประเทศอินเดียสมัยนั้นนิยมทำการหล่อเทวรูปด้วยสัมฤทธิ์ หรือสลักด้วยหินชนิดอื่น ไม่นิยมใช้หยกหรือมรกตในการทำพระพุทธรูป อุตสาหกรรมเหมืองหยก หรือหินอัญมณีมรกตก็ไม่มีในภูมิภาคนี้ในสมัยนั้น แหล่งหยก หรือมรกตที่จะหาอัญมณีสีเขียวขนาดใหญ่ขนาดนั้นเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนมีที่เดียวคือ อาณาจักรน่านเจ้า หรือเมืองต้าลี่ในมณฑลยูนนานเท่านั้นครับ
                 ว่า กันว่าฝีมือแกะสลักพระพุทธรูปแบบนี้ก็มีอยู่ที่ตอนใต้ของจีนที่เดียว เพราะสมัยนั้นการสลักพระพุทธรูปจะใช้ปูนปั้น หรือหินชนิดอื่น ในศรีลังกา พม่า และอินเดียก็ใช้หินทราย หินศิลาแลง หรือสัมฤทธิ์ ไม่มีใครใช้หยกเลยนอกจากคนจีน พระพักต์ของพระแก้วมรกต (ตอนถอดเครื่องทรง) ถ้า สังเกตให้ดีก็จะเป็นศิลปแบบจีนยูนนาน ยิ่งไปกว่านั้น ความมหัศจรรย์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้คือ ในองค์พระแก้วมรกตนั้น มีช่องกลวงบรรจุพระอุรังคธาตุหรือกระดูกพระอุระของ พระพุทธเจ้า ซึ่งถูกอัญเชิญจากอินเดียไปจีน ผ่านมาทางพม่า องค์พระแก้วถูกแกะสลักจากหินสีเขียวก้อนเดียวและบรรจุพระอุรังคธาตุโดยไม่มี รอยตัดเชื่อมต่อเลย เทคโนโลยีนี้เป็นความลับที่สูญหายไปของชาวจีนโบราณยุคนั้น คนอินเดีย พม่า และไทย ไม่เคยมีสลักพระพุทธรูปด้วยเทคนิคเช่นนี้  หากจับองค์พระแก้วเขย่าดู จะได้ยินเสียงสั่นให้รู้ว่าภายในองค์พระแก้วมีรูกลวง และบรรจุวัตถุอยู่ประมาณ 6-7 ชิ้น ไม่มีหลักฐานใดเชื่อได้ว่าเป็นพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวา พระเพลาซ้าย และพระเพลาขวาของพระพุทธเจ้า แต่มีตำนานเล่ากันว่าตอนที่มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าหลัง จากการถวายพระเพลิงนั้น ส่วนกระดูกพระอุระและข้อนิ้วพระหัตถ์ถูกอัญเชิญไปทางประเทศจีน พระเกศาธาตุถูกอัญเชิญไปทางพม่า พระเขี้ยวแก้วถูกอัญเชิญไปศรีลังกา ผงเถ้าทุลีถูกแบ่งออกแล้วเชิญไปยังอินเดียตอนใต้ ศรีวิชัย และเปอร์เซีย ดังนั้นหากพระแก้วมรกตถูกสร้างด้วยหินหยกเขียวทางตอนใต้ของจีนสมัยอาณาจักร น่านเจ้า หรือฟูนันก็น่าจะมีการบรรจุพระอุรังคธาตุไว้ด้วยก็ได้

               นักโบราณคดีจีนมีหลักฐานหลายอย่างที่เชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตถูกสร้างอยู่ที่เมืองต้าลี่สมัยอาณาจักรน่านเจ้ารุ่งเรืองเมื่อ 1500 ปี ก่อน แต่ปกปิดเรื่องนี้ไว้ไม่ให้รู้ถึงจักรพรรดิจีนในราชวงศ์ถังเรืองอำนาจ  ต่อมาจักรพรรดิจีนได้ยินข่าวว่าเมืองต้าลี่มีสมบัติล้ำค่า ก็ยกทัพจะมายึดไป ชาวน่านเจ้าก็แอบนำพระแก้วลงมาทางใต้ มาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วในเมืองเชียงรุ้ง มีวัดพระแก้วอยู่ที่เชียงรุ้งและวัดนี้มีอายุมาแล้วประมาณ 1300 ปี เมื่ออิทธิพลของกองทัพจีนมารุกรานถึงเชียงรุ้ง พระแก้วมรกตก็ถูกลักลอบหนีมาอยู่ที่เมืองเชียงตุง และคาดว่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดพระแก้วในเมืองเชียงตุงมาเกือบ 300 ปี โดยที่ปกปิดไว้ไม่ให้รู้ว่าองค์พระเป็นมรกต ต่อมาเมื่อไม่ถึง 600 ปี มานี้มีการค้นพบว่ามีพระแก้วมรกตที่หุ้มด้วยปูนซ่อนอยู่ในเจดีย์ของเมือง เชียงราย ซึ่งอยู่พ้นจากอิทธิพลของกองทัพจีน และมองโกล พระแก้วมรกตจึงถูกเปิดเผยออกมาสู่ประวัติศาสตร์ของไทยโดยไม่ต้องซุกซ่อนอีก ต่อไป มีร่อยรอยหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ในวัดพระแก้ว 9 วัด และแต่ละวัดสามารถระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนได้ และมีพระแท่น หรือจุดที่วางพระแก้วมรกตไว้ที่แน่ชัด ได้แก่
               1. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงรุ้ง ประมาณ พ.ศ. 1200 – 1500 โดย ช่วงก่อนหน้านั้นอาจจะประดิษฐานอยู่ในพระราชวังโบราณของอาณาจักรน่านเจ้า ปัจจุบันไม่มีร่องรอยเกี่ยวกับพระแก้วมรกตเหลืออยู่แล้วในเมืองต้าลี่ แต่เราสามารถพบเห็นแหล่งหินธรรมชาติชนิดเดียวกันกับพระแก้วมรกตได้ทั่วไปใน เมืองต้าลี่ ส่วนวัดพระแก้วเก่าแก่ในเชียงรุ้ง มรดกของชาวไทยรื้อนี้พึ่งจะถูกรัฐบาลจีนรื้อถอนออกไปแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ. 2546 เพื่อปรับปรุงเมืองให้ทันสมัย
             2.  วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงตุง  ประมาณ พ.ศ. 1500 – 1900 ใน ช่วงแรกนั้นพระแก้วอาจจะมิได้หุ้มด้วยปูนลงรักปิดทอง แต่ชาวไทยรื้อสามารถสัมผัสและสรงน้ำองค์พระแก้วได้ในวันขึ้นปีใหม่โบราณ โดยดูได้จากการถอดความบันทึกโบราณภาษาไทยรื้อในพม่า ที่มีการบันทึกไว้ด้วยภาษาไทยรื้อโบราณมีอายุประมาณ 1000 ปีมาแล้ว ต่อมาประมาณเมื่อประมาณ 900 ปี มานี้ มีกองทัพเจงกีสข่าน จากมองโกลรุกรานมาถึงพม่าก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสรงน้ำองค์พระแก้วในวัน ขึ้นปีใหม่อีกเลย อาจเป็นไปได้ว่ามีการหุ้มด้วยปูนแล้วลงรักองค์พระแก้วมรกตไว้ในช่วงสมัยนี้  จนผู้คนก็ลืมไปแล้วว่ามีพระแก้วที่สลักจากหินมรกตอยู่  ปัจจุบันที่วัดพระแก้วในเชียงตุงซึ่งมีอายุกว่า 1000 ปี ได้นำพระองค์อื่นวางไว้แทนองค์พระแก้วมรกต
            3. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงราย ถูกพบว่าเป็นองค์พระแก้วมรกตในปี พ.. 1979 ตอนนั้นเชียงรายอยู่ในการดูแลของนครเชียงแสน และเมืองเชียงแสนเป็นถิ่นฐานที่สามารถติดต่อกับชาวไทยรื้อและน่านเจ้าได้โดย การเดินทางผ่านแม่น้ำล้านช้างหรือแม่น้ำโขง  แต่องค์พระแก้วที่หุ้มด้วยปูนลงรักอาจจะถูกชาวไทยรื้อแอบเชิญมาอยู่ที่เชียงรายในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 หรือประมาณ พ.ศ. 1900 ซึ่ง เป็นช่วงเวลาที่ชาวมอญแพ้ให้กับพม่า และพุกามกำลังเรืองอำนาจ มีการเริ่มก่อตั้งอาณาจักรล้านนา และชาวไทยรื้อเข้มาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือของไทย
          4. วัดพระแก้ว ในเมืองลำปาง หรือเมืองเขลางค์นคร   ปัจจุบันคือวัดสุชาดาราม หรือ พระแก้วดอนเต้า ประมาณ พ.ศ. 1979 – 2011 ในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของนครเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า หรือสุชาดารามนี้ ตั้งอยู่ที่ ถนนสุชาดา ภายในเมืองลำปาง เป็นวัดเก่าแก่สวยงาม มีอายุเกือบพันปี มีปูชนียสถานที่สำคัญของวัดทดแทนพระแก้วมรกต คือ พระบรมธาตุดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
.          5. วัดพระแก้ว ในเมืองลำพูน หรือหริภุณชัย ในช่วงปี พ.ศ. 2009-2011 เป็น เส้นทางผ่านในการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางไปสู่เมืองเชียงใหม่ โดยได้ประดิษฐานพระแก้วมรกตไว้เป็นการชั่วคราวที่นี่ก่อนที่จะมีการก่อสร้าง ปราสาทที่เก็บรักษาพระแก้วในเมืองเชียงใหม่
           6. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือวัดเจดีย์หลวง  ตั้งแต่ ปี พ.. 2011 จนถึง 2096 โดย มีการก่อสร้างปราสาทหอพระแก้วไว้บริเวณซุ้มจรนัม ทางทิศตะวันออกของพระธาตุเจดีย์หลวง ปัจจุบันหอพระแก้วเดิมได้ผุพังไปแล้ว มีการก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาทดแทน
           7. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงทอง หรือปัจจุบันคือหลวงพระบาง ตั้งแต่ พ.. 2096 – 2107 โดย ถูกพระญาติของเจ้าครองนครเชียงใหม่ ที่จะได้ไปครองเมืองเชียงทองซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นเอกราช ได้แอบนำพระแก้วมรกตไปจากเชียงใหม่ ปัจจุบันที่ที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานพระบางแทนซึ่งเป็นพระคู่ บ้านคู่เมือง แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองเชียงทองเป็นเมืองหลวงพระบาง
          8. วัดพระแก้ว ในเมืองเวียงจันทร์..2107-2321  พระ แก้วมรกตได้ถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่เวียงจันทร์เพื่อหลบหนีจากการทวงคืนจาก เชียงใหม่ และการรุกรานของพม่า ปัจจุบันพระแท่นที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกตว่างเปล่า ไม่มีการตั้งพระพุทธรูปองค์ประธานอื่นไว้ทดแทน เพราะชาวลาวเชื่อว่าสักวันหนึ่งพระแก้วมรกตจะได้กลับมาที่เดิม
          9. วัดพระแก้ว หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน กทม. จาก พ.. 2321  จนถึงปัจจุบัน แต่ในช่วงแรกที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีศรีสรรเพ็ชร์ คือระหว่าง พ.ศ. 2321-2325 ได้ประดิษฐานไว้ในโรงภายในพระราชวังเดิม ซึ่งปลูกไว้ริมพระอุโบสถวัด แจ้ง ฝั่งธนบุรี (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอรุณราชวรารามในรัชกาลที่ 2) ครั้นเมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ  กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี .. 2325 ได้ โปรดให้เรียกพระแก้วใหม่ว่าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ในพระบรมมหาราชวัง  จนมีการสร้างพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จ ในปี พ.. 2327 จึงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานอยู่ในที่ปัจจุบัน
                   ไม่ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีใดที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตจัดสร้างขึ้นที่เมือง ปาลีบุตร ประเทศอินเดีย เพราะในยุคนั้นบริเวณเมืองปาลีบุตรไม่มีหินหยกขนาดใหญ่เลย และไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่ลังกา หรือประเทศศรีลังกามาก่อน แม้ว่าจะมีวัดพระเขี้ยวแก้วในประเทศศรีลังกาก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะเชื่อมโยงกับพระแก้วมรกตเลยใน เมืองนครธม และในที่อื่น ๆ ของเขมร รวมทั้งไม่มีเหตุผลใดที่พระแก้วมรกตจะเคยมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร และเมืองอโยธยาโบราณ (กรุงศรีอยุธยาตั้งขึ้นมาจริง ๆ ในสมัยพระเจ้าอู่ทองประมาณ 600 ปีก่อนเท่านั้น) นอกจากความเชื่อที่จำกันมา แม้ว่าจะมีวัดพระแก้วในพระนครศรีอยุธยาและเมืองเก่ากำแพงเพชรก็ตาม แต่น่าจะเป็นวัดที่สร้างใหม่ภายหลังอายุไม่เกิน 400 -500 ปี ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นที่แน่ชัดว่าพระแก้วมรกตอยู่ที่เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง ดังนั้นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครอง

ตอบโดย : guest [ 28 ต.ค. 53 17:11 ]

#7
                   ไม่ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีใดที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตจัดสร้างขึ้นที่เมือง ปาลีบุตร ประเทศอินเดีย เพราะในยุคนั้นบริเวณเมืองปาลีบุตรไม่มีหินหยกขนาดใหญ่เลย และไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่ลังกา หรือประเทศศรีลังกามาก่อน แม้ว่าจะมีวัดพระเขี้ยวแก้วในประเทศศรีลังกาก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะเชื่อมโยงกับพระแก้วมรกตเลยใน เมืองนครธม และในที่อื่น ๆ ของเขมร รวมทั้งไม่มีเหตุผลใดที่พระแก้วมรกตจะเคยมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร และเมืองอโยธยาโบราณ (กรุงศรีอยุธยาตั้งขึ้นมาจริง ๆ ในสมัยพระเจ้าอู่ทองประมาณ 600 ปี ก่อนเท่านั้น) นอกจากความเชื่อที่จำกันมา แม้ว่าจะมีวัดพระแก้วในพระนครศรีอยุธยาและเมืองเก่ากำแพงเพชรก็ตาม แต่น่าจะเป็นวัดที่สร้างใหม่ภายหลังอายุไม่เกิน 400 -500 ปี ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นที่แน่ชัดว่าพระแก้วมรกตอยู่ที่เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง ดังนั้นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยาโบราณมารับเอาพระแก้วมรกตไปจากเขมรจึงไม่น่าจะมีจริง
             ปัจจุบันโอกาสที่เราจะเห็นองค์จริง ๆ (Model พระพักตร์และลวดลายแกะสลัก) ของพระแก้วมรกตนั้นมีน้อยมาก เพราะเรานำเครื่องทรง 3 ฤดู ไปสวมและปกปิดความมหัศจรรย์ขององค์พระจริง ๆ  แต่ ก็ทำให้พระแก้วมรกตมีความเป็นศิลปะไทยมากขึ้น เพราะหากไม่มีเครื่องทรงจะแล้ว ดูองค์พระจากหินมรกตเปล่า ๆ จะเห็นแตกต่างไปจากที่เราคุ้นเคยมาก  ช่างสลักของไทย เขมร พม่า ลาวรวมทั้งล้านนาในทุกสมัยก็มิเคยมีฝีมือสลักพระพุทธรูปในรูปแบบนี้มาก่อน ทุก ๆ 4 เดือน จะมีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรง สรงน้ำ และบวงสรวงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรโดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จไปแทนในหลวง อาจจะมีโอกาสได้เห็นพระแก้วมรกตตอนถอดเครื่องทรงออกเปลี่ยนและทำความสะอาด ทางทีวีบ้าง
 มีภาพพระแก้วมรกตตอนถอดเครื่องทรงอยู่เหมือนกันแต่โพสต์ภาพในนี้ไม่เป็น
คาถาบูชาพระแก้วมรกตพุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ

จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม

………………………………………………………………………………………………………………
ประวัติพระแก้วมรกต พระมหามณีรัตนปฏิมากร
                พระแก้วมรกต คือ พระพุทธรูปสร้างจากก้อนแก้วมรกต มีความสวยงามศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยเรา มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจยิ่งทั้งในด้านประวัติศาสตร์จะได้ทราบเรื่องราวระหว่างช่วง พ.ศ.1200 กว่าลงมาจึงถึงปัจจุบัน
                ทำให้เราได้รู้ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยที่อยู่ในดินแดนแหลมทองก่อนยุคสมัยสุโขทัย พ.ศ. 1800 ที่แผ่นดินผืนนี้ชนชาติไทยได้ตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ในยุคสมัยทราวดีศรีวิชัย
                พงศาวดารตำนานต่างๆ ที่องค์พระแก้วมรกตได้ไปโปรดทั่วทุกภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนักประวัติศาสตร์โบราณคดีได้สละแรงกาย แรงใจ ค้นคว้า ข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาเผยแพร่แก่อนุชนรุ่นหลังให้ได้รับทราบข้อเท็จจริง
                ประวัติการสร้างพระแก้วมรกต
                สมัยเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนภาคใต้ที่นครศรีโพธิ์ (โพธิ์) ไชยา นครตามพรลิงค์ที่นครศรีธรรมราช และนครพานพาน ที่ตำบลเวียงสระปัจจุบัน ระหว่าง พ.ศ. 900-1400 คนไทยที่เขียนตำนานได้ให้พระนามพระมหากษัตริย์ในนครเหล่านี้ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เหมือนกันหมด เพราะพระองค์ท่านเหล่านี้ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเหมือนอย่างพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (อินเดีย) ตำนานไทยจึงเรียกนครของพระศรีธรรมาโศกราชในแดนไทยว่า นครปาตลีบุตร ด้วย ในลายแทงเจดีย์วัดแก้วไชยากล่าวไว้ว่า
                “เจดีย์วัดแก้ว ศรีธรรมาโศกสร้างแล้วแลเห็นเรืองรอง สี่เท้าพระบาท เหยียบปากพะเนียงทอง ผู้ใดคิดต้องกินไม่สิ้นเลย แสดงว่าคนไทยโบราณเรียกกษัตริย์ของตนเองว่า ศรีธรรมาโศกซึ่งครองนครปาตลีบุตรในโคลงยอพระเกียรติพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรีของนายส่วนมหาดเล็กแต่งไว้ ได้กล่าวถึงเมือง ปาตลีบุตรมีว่า
                ปางปาตลีบุตรเจ้า                   นัครา
                แจ้งพระยศเดชา                     ปิ่นเกล้า
                ทรนงศักดิ์อหังกา                  เกกเก่ง  อยู่แฮ
                ยังไป่ประนตเข้า                    สู่เงื้อมบทมาลย์
                เจ้าปาตลีบุตรนั้น                   อัปรา ชัยเฮย
                ไปสถิตเทพาพา                      พวกแพ้
                หนีเข้าพึ่งตนนา                      ทัพเล่า
                ทัพราชรีบรมแหร้                  แขกม้วยเมืองทลาย
                จะเห็นได้ว่าบทโคลงในสมัยนั้นเรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่าเป็น นครปาตลีบุตร
                จากจดหมายเหตุการณ์ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุอิจิงที่มาแวะพัก จารึกปฏิบัติธรรมที่นครโพธิ์ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ฮุดซีเมื่อ พ.ศ. 1214-1238 แล้วเดินทางจากเมืองท่ากาจา (ไทรบุรี) ไปอินเดีย เมื่อท่านเดินทางกลับจากอินเดีย พ.ศ. 1232 ปรากฏว่ารัฐต่าง ๆ ในแถบทะเลใต้มีรัฐพานพาน (เวียงสระ) รัฐไฮลิง (ตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช) ปองพอง (ปาหัง) กิลันตัน (กลันตัน) ปลึกฟอง (ปาเลมบัง) และรัฐอื่น ๆ อีก 10 รัฐ เข้ารวมกันเป็นประเทศ ซีหลีฮุดซี หรือที่ท่านเซเดส์เรียกว่า ศรีวิชัยมีพระอินทรวรมเทวะเป็นประมุข
                ในตำนานพระแก้วมรกตของไทย กล่าวถึงพระมหากษัตริย์และพระราชบุตร ที่ร่วมสร้างพระแก้วมรกตถวายพระนาคเสน คือพระอินทร์กับพระวิษณุกรรมเทพบุตร ได้ชวนกันไปหาก้อนแก้วมรกตจากเขาเวบุลบรรพต คนไทยโบราณหมายถึงแดนยูนาน(น่านเจ้า) มาแปลงเป็นพระแก้วมรกตสำเร็จในเวลา 7 วัน นามพระมหากษัตริย์ทั้งสองนี้ เป็นพระนามจริงในประวัติศาสตร์ของอาณาจักรศรีวิชัย
                ตามประวัติศาสตร์อาณาจักรศรีวิชัย กษัตริย์ที่ครองเมืองระหว่าง พ.ศ. 1230-1270 ทรงพระนามว่า พระอินทร์บรมเทพ มีนามเป็นภาษาสันสกฤตว่า ศรีนทรวรมเทวะ พระองค์ได้ส่งพระราชบุตรพระวิษณุไปถวายบังคมพระเจ้ากรุงจีนในปี พ.ศ. 1267 จากพงศาวดารราชวงศ์สูงของจีน บันทึกไว้ว่า
                “ปี พ.ศ. 1267 มีพระราชกุมาร (กิวโมโล) มาจากประเทศซีหลีฮุดซีมาถวาย คนเงาะชายสองหญิงหนึ่งคนและนักดนตรีคณะหนึ่งกับนกแก้วห้าสีหลายตัว พระเจ้ากรุงจีนตั้งให้พระราชกุมารเป็นนายพลในกองทัพจีนและพระราชทานผ้าแพรหนึ่งร้อยม้วนและถวายตำแหน่งอ๋องให้แก่เจ้าเมืองซีหลีฮุดซี พระนามว่า เช ลี โตเลปะโมคำนี้เป็นภาษาจีนคือ ศรีน-ทะระ-วรมะ ในภาษาสันสกฤต
                จากศิลาจารึกอาณาจักรศรีวิชัย พ.ศ. 1318 พบที่วัดเวียงไชยา ของพระวิษณุ เสวยราชระหว่าง พ.ศ. 1270-1330 จารึกด้านหน้านามพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ชื่อศรีวิชเยศวรภูบดี ทรงสร้างปราสาทอิฐขึ้น 3 ปราสาท คือ ปราสาทอิฐวัดหลง  ปราสาทอิฐวัดแก้ว  ปราสาทอิฐวัดเวียง
                เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์วัชรปาณี สร้างอุทิศให้แก่พระอัยการผู้สร้างพระนครนี้อยู่ปราสาทองค์ทิศเหนือ
                ปราสาทองค์ทิศใต้ ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี อุทิศให้พระอินทร์พระราชบิดา
                ส่วนปราสาทองค์กลาง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
                ด้านหลังแผ่นศิลาจารึก ลงนามผู้สร้างจารึกนี้นามว่าพระวิษณุ (วิษฺณวาชโย) เป็นประมุขไศเลนทร์วงศ์
                จากศิลาจารึกนี้ ทำให้เราทราบถึงอาณาจักรศรีวิชัย และพระวิษณุเป็นกษัตริย์ครองนครโพธิ์องค์ที่ 3 พระองค์ทรงสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเนื้อสำฤทธิ์ขึ้นสององค์ คือ พระโพธิสัตว์ปัทมาปาณีกับพระโพธิสัตว์วัชรปาณี ซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามมาก
                องค์ใหญ่มีเครื่องประดับน้อย ซึ่งสร้างก่อนองค์เล็กที่มีเครื่องทรงประดับวิจิตรงดงาม สร้างอุทิศให้พระอัยกาและพระบิดาตามวัฒนธรรมไศเลนทร์ ตามความเชื่อของคนโบราณในการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
                พระมหากษัตริย์องค์ใดที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป เมื่อสวรรคตแล้วจึงมีการสร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของพระนางจามเทวี หรือการสร้างพระพุทธรูปอุทิศถวายเพื่อเป็นความหมายของนิพพานธรรม เช่น พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช
                ในตำนานพระแก้วมรกตและประวัติศาสตร์ศรีวิชัยกล่าวไว้ว่านครโพธิ์เจริญ รุ่งเรืองมากในสมัยพระอินทร์และพระวิษณุในการหล่อพระโพธิสัตว์วัชรปาณีด้วย ฝีพระหัตถ์ของพระวิษณุเทพบุตร ซึ่งเป็นกษัตริย์จึงทำตรีเนตรเป็นตุ่มเล็กๆ ระหว่างพระเนตรของพระพุทธรูป อุทิศให้กับพระอินทร์พระราชบิดา ตุ่มนี่จึงเป็นความหมายของท้าวสามตาพระอินทร์
                องค์พระแก้วมรกต ที่พระวิษณุกรรมสร้างให้เป็นตัวแทนของพระมหาธรรมรักขิต ซึ่งเป็นพระอรหันต์ก็เป็นตรีเนตรแต่เดิมฝังเพชรเม็ดเล็กไว้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ถวายเพชรเม็ดใหญ่ เปลี่ยนเพชรตรีเนตรแบบศรีวิชัยออก
                เมื่อพระวิษณุสวรรคต มีผู้สร้างพระโพธิสัตว์แทนพระองค์ท่านขึ้นที่เมืองไชยา เป็นพระโพธิสัตว์มี 4 กร ด้วยที่ท่านมีพระนามในศิลาจารึกว่า พระวิษณุ จึงสร้างพระนารายณ์แทนองค์ท่าน แต่ไม่มีเครื่องหมายตรีเนตรเพราะคนสร้างมิได้เป็นกษัตริย์หรือองค์เจ้า
                ในปลายรัชกาลพระอินทร์ พระวิษณุราชบุตรได้ร่วมกันสร้างพระแก้วมรกตขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ. 1260-1270 ที่นครโพธิ์ไชยา ส่วนพระภาณุโอรสของพระอินทร์อีกพระองค์หนึ่งได้ไปปกครองเกาะชวา เป็นปฐมวงศ์ของไศเลนทร์วงศ์อีกสาขาหนึ่งที่ได้สร้างเจดีย์บรมพุทโธเจดีย์ปะวน เจดีย์มณฑปในเกาะชะวา เป็นศิลปของพระพุทธศาสนาตราบเท่าทุกวันนี้
                ตำนานพระแก้วมรกต กล่าวถึงพระมหากษัตริย์นครปาตลีบุตร ต่อจากพระวิษณุกรรม คือพระราชาธิราชบุนดะละและพระเจ้าดะกะละ (หลานของพระเจ้าบุนดะละ) แล้วถึงพระศิริกิตติกุมาร ในรัชกาลของพระศิริกิตติ เกิดศึกสงครามคนล้มตายเป็นอันมาก พวกข้าปฏิบัติรักษาพระแก้วมรกต เห็นเหตุการณ์ไม่ดี กลัวพระแก้วจะเสียหาย จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสู่เรือสำเภาลำหนึ่งพร้อมกับพระธรรมปิฏก พากันหนีไปสู่กัมโพชวิสัย คือ ลังกาทวีปที่นครศรีธรรมราช
                ตามตำนานพระแก้ว กษัตริย์ที่ครองนครโพธิ์ รหือนครปาตลีบุตรเป็นลูกหลานกษัตริย์ของพระเจ้ากรุงทวาราวดีที่อู่ทอง พ.ศ. 1100-1200
                ในประมาณ พ.ศ. 1180 พระเจ้าอนุรุธกษัตริย์มอญได้ยกกองทัพมาตีกรุงทวาราวดี ลูกหลานของพระเจ้ากรุงทวาราวดีพวกหนึ่งอพยพลงมาตั้งนครโพธิ์ที่ไชยา
                อีกพวกหนึ่งไปตั้งนครละโว้ ขึ้นเป็นเมืองหลวง พระเจ้ากรุงละโว้ได้ส่งพระนางจามเทวีไปครองนครหริภุญชัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1205
                ต่อมาถึง พ.ศ. 1400 พระเจ้าศิริกิตติได้ยกกองทัพไปยึดนครละโว้ (จากตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์จามเทวีวงศ์ได้กล่าวไว้) ทางนครปาตลีบุตร เกิดการแย่งชิงราชสมบัติขึ้นมีผู้เกรงพระแก้วมรกตจะเสียหายจึงได้ลักลอบพาลงเรือไปนครศรีธรรมราช ซึ่งมีกษัตริย์ไศเลนทร์วงศ์องค์หนึ่งปกครองอยู่พุทธศาสนานครนี้ก็เจริญรุ่งเรือง
                จากพงศาวดารเหนือของไทยเขียนไว้ว่า พระเจ้าอนุรุธ กษัตริย์องค์ปฐมวงศ์ของมอญเป็นผู้ตั้งจุลศักราชขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1181 เมืองต่าง ๆ ของคนไทยทางแดนล้านนาตกอยู่ ภายใต้การปกครองของมอญและพม่าเป็นเวลานานมาก จนนิยมใช้จุลศักราช กษัตริย์ในดินแดนล้านนาไปชุมนุมกันทั่วล้านนา ยกเว้นแต่กษัตริย์ที่นครหริภุญชัยและสวรรคโลก
                พอตั้งจุลศักราชได้ปีเดียวพระเจ้าอนุรุธก็สวรรคต พระเจ้ากากวรรณดิศราชโอรสพระเจ้าอนุรุธยกทัพมาตีเมืองละโว้ถึง 7 ปี แล้วมาตั้งพระประโทนเจดีย์ที่นครปฐม เมื่อ พ.ศ. 1199
                ตำนานไทยโบราณเรียกนามกษัตริย์ทางดินแดนมอญว่าพระเจ้าอนุรุธไปทุกพระองค์หลายยุค เหมือนตำนานไทยเรียกพระเจ้าแผ่นดินทางไชยาเวียงสระนครศรีธรรมราชว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เรียกกษัตริย์ทางกรุงสุโขทัยว่า พระร่วงไปทุกพระองค์ ตำนานพระแก้วมรกตฉบับของ ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวไว้ว่า พระเจ้าอนุรุธที่ไปชิงพระแก้ว เป็นลูกหลานของพระเจ้าอนุรุธที่ตั้งจุลศักราช
                ดินแดนของไทยที่อยู่ตั้งแต่เชียงแสนไปกำแพงเพชรละโว้ อโยธยา ไชยา นครศรีธรรมราช ตลอดเวลาสองพันปีที่คนไทยได้เขียนตำนานเล่าไว้เป็นความจริงทั้งสิ้น แต่เราไปเชื่อประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเขียนไว้ว่า ตำนานที่คนไทยเขียนไว้เป็นนิยายไม่มีความจริงทางประวัติศาสตร์
                ดินแดนแห่งนี้มีการรบมุ่งกับพวกมอญทางด้านตะวันตกและเขมรทางดินตะวันออก ผลัดกันแพ้ชนะกันมาหลายยุคหลายสมัย คนไทยโบราณที่อยู่ทางล้านนาเรียกว่าพวกโยนกคนไทยโบราณที่อยู่ทางละโว้ อโยธยา ไชยา นครศรีธรรมราช เรียกว่า พวกกัมโพช (หมายถึงชาวใต้ในสมัยต่อมาเมื่อคนไทยที่มีมารดาเป็นเขมรมีอำนาจมาก ไทยเหนือเลยเรียกไทยใต้ว่า เป็นพวกขอมไปหมด)
                ตำนานต่าง ๆ ของไทยและพงศาวดารเหนือ จดเรื่องก่อนสมัยตั้งกรุงอโยธยาที่หนองโสน ล้วนเป็นเรื่องของไทยกัมโพชหรือไทยไศเลนทร์ มาตั้งนครที่สวรรคโลก กำแพงเพชร ละโว้ อโยธยา ไชยา นครศรีธรรมราช
                คนไทยที่สร้างพระแก้วมรกตเรียกตัวเองในศิลาจารึกว่า ไศเลนทร์วงศ์ ตำนานพระแก้วมรกตเรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่าลังกาทวีปกัมโพชวิสัยปาตลีบุตร
                ลังกา หมายถึง เมืองที่มีพระไตรปิฏกของชาวกัมโพช เมืองที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างชมพูทวีป คือ เมืองนครศรีธรรมราช
                ตามตำนานพระแก้วมรกตว่า พระเจ้าอนุรุธได้ยกกองทัพม้ามาเอาพระแก้วมรกตที่ลังกาทวีป (ตามตำนานจะเป็นเกาะลังกาของชาวสิงห์ไม่ได้ เพราะมาทางบกจากเมืองมอญลงมาทางใต้ต้องเป็นเมืองพระไตรปิฏกที่นครศรี ธรรมราช) แล้วนำพระไตรปิฏกกับพระแก้วมรกตลงเรือนำกลับเมืองมอญ แต่เรือสำเภาพระแก้วมรกต พวกไศเลนทร์วงศ์ได้ปลอมปนลงมาบนเรือสำเภาแล้วประหารพวกมอญที่ควบคุมอยู่จาก นั้นก็นำเรือสำเภาพระแก้วมรกตเข้าปากน้ำปันทายมาสหนีไปยังนครอินทปัตรได้
                นครอินทปัตในตำนานพระแก้วมรกต เป็นนครของไศเลนทร์วงศ์ที่ได้นางเขมรเป็นมเหสี ทางเขมรถึงว่า ถ้ามารดาเป็นเขมร ต้องเป็นเขมร
                ต้นราชวงศ์เขมร คือ พราหมณ์กัมพู มาได้นางเขมรเป็นมเหสีลูกหลานของพราหมณ์กัมพูก็ต้องเป็นเขมรที่เรียกกันว่า พวกเจนละ
                จนมาถึงสมัยพระอุทัยราช ได้นางนาคเป็นมเหสี เป็นธรรมเนียมของกษัตริย์ไศเลนทร์ที่ปกครองพระนครวัด ต้องมีมเหสีเป็นเขมร มิฉะนั้นพรรคพวกพระยานาคจะก่อการกบฏ พระนางมีโอรสออกมาเป็นฟอง ต้องนำไปทิ้ง พระคงเคราเมืองละโว้ได้เก็บไปเลี้ยงไว้ ภายหลังได้เป็นพระร่วงเมืองละโว้
                โอรสของนางนาคอีกพระองค์หนึ่งเป็นมนุษย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 5 (นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเรียก ยโศวรมเทวะ ระหว่าง พ.ศ. 1432-1453) มีอำนาจมากได้ปราบปรามหัวเมืองใกล้เคียงอยู่ในอำนาจดินแดนไทยเมืองหลายแห่งต้องส่งส่วยให้พระองค์
                เมื่อพวกไศเลนทร์จากนครศรีธรรมราช นำเรือสำเภาพระแก้วมรกตเข้ามาถึงนครอินทรปัตในปลายรัชกาลพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ พระองค์ทรงโสมนัสปลื้มปิติในองค์พระแก้วมรกตมาก ทรงถวายพระนครของพระองค์ให้แก่พระแก้วมรกต หลังจากสมโภชแล้วก็ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ พระองค์ก็ปฏิบัติบูชาพระแก้วมรกตเป็นประจำมิได้ขาด พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองไปทั่วสกลทวีป มีชัยเหนือศาสนาพราหมณ์ในทั่วดินแดนพระนครอินทรปัต
                เมื่อพระองค์ยกปราสาทราชวังถวายแก่พระแก้วมรกตเป็นพระนครวัดแล้ว พระองค์ก็ไปสร้างพระนครหลวงใหม่ ที่ยโศธร ปุระ โดยเอาภูเขาพนมบาแค็ง (ผาแค็ง) เป็นใจกลางของพระนครหลวง ต่อมาลูกหลานขอมทุกยุคทุกสมัย จึงยกย่องพระองค์เป็นเทพเจ้าประจำยโศธรปุระเมืองพระนครหลวง
                ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พ.ศ.1656-1695 ได้ทรงสร้างปราสาทนครวัดตรงพระนครที่พระปทุมสุริยวงศ์ ถวายแก่พระแก้วมรกตสร้างเป็นปรางค์ขอม มีเก้ายอดเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า กษัตริย์ผู้ทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรืองเข้าถึงพระพุทธศาสนาเสมือนผู้บรรลุนิพพานธรรม
                ยอดกลางสูงสุดหมายถึงพระนิพพาน ยอดสี่ยอด ยอดอีกสองชั้น แสดงถึงมรกต 4 ผล 4 ยอดปรางค์ ทำเป็นฉัตรหลายชั้น ฉัตรแต่ละชั้นประดับด้วยกลีบบัวเหมือนฝักข้าวโพดยอดปราสาทนครวัดทั้งเก้ายอดปิดทองเหลืองอร่ามไปหมด ตามแบบไศเลนทร์
                ปราสาทใหม่ที่พระระเบียงวิหารคดของปราสาทนครวัดสลักเป็นภาพ นรก สวรรค์ ตามคัมภีร์ไตรภูมิ แสดงให้เห็นว่าปราสาทนครวัด เป็นปรางค์ของฝ่ายพระพุทธศาสนามีภาพสลักเป็นเรื่องรามเกียรติ์มหาภารตะ เพื่อยกย่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เป็นกษัตริย์ที่ทรงธรรมและมีฤทธิ์อำนาจเหมือนพระนารายณ์ ตอนสมัยท่านมีชีวิตอยู่พระองค์ชอบมานั่งวิปัสสนาในปราสาทพระแก้ว เมื่อพระองค์สวรรคตแล้วก็บรรจุอัฐิของท่านไว้ที่นี้ด้วย ลูกหลานของท่านทุกพระองค์จึงนิยมไปนั่งวิปัสสนาที่นครวัด
                พงศาวดารกรุงกัมพูชา เล่าถึงตอนที่พระแก้วมรกตอยู่ในนครอินทรปัตได้ถูกต้องกว่าฉบับอื่น ๆ ว่าพระแก้วมรกตเข้ามาในรัชกาลของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ จนถึงรัชกาลที่ 6 พระทะเมิญชัย จึงได้โปรดให้นำพระไตรปิฏกที่ติดมากับเรือสำเภาพระแก้วมรกต ส่งคืนไปให้พระเจ้าอนุรุธ แต่องค์พระแก้วมรกตไม่ยอมคืนให้
                ตามตำนานพระแก้วมรกต เขียนไว้ว่าเมื่อพระเจ้าอนุรุธไม่ได้พระแก้วมรกต ก็ได้ติดตามปลอมเป็นราษฎรไปสืบเรื่องพระแก้วมรกต เมื่อรู้ว่าพระแก้วมรกตตกไปอยู่ในเมืองอินทรปัต พระองค์ก็ไม่กล้าตามไปแย่งเอามา เพราะเมืองอันทรปัตตอนนั้นมีพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กษัตริย์ผู้เรืองอำนาจมีพระเดชานุภาพมาก
                ต่อมามีลูกหลานของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 1453-1471 อีก 6 พระองค์ จนประมาณ พ.ศ. 1471 พวกเจ้านายเขมรได้มาแย่งชิงเมืองได้ (พงศาวดารกัมพูชาว่าเป็นราชวงศ์ใหม่ตั้งนครหลวงที่โคห์แกร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
                มีการกวาดล้างพวกเจ้านายขอม จนบางพวกต้องหนีไปพึ่งพวกไศเลนทร์วงศ์ที่เมืองละโว้
                ในรัชกาลพระเสนก โอรสของพระเสนกเลี้ยงแมลงวันเขียวถูกแมงมุมเสือของบุตรปุโรหิตเขมรที่เลี้ยงไว้กินแมลงวันเขียวของพระโอรส พระเสนกให้ทหารไปจับบุตรของปุโรหิตไปถ่วงน้ำ เพราะเหตุว่าพระเสนกไม่ทรงธรรม พวกเขมรจึงชวนกันก่อการกบฏปราบขอม พระเถระต้องพาพระแก้วมรกตหนีไปอยู่ที่ปราสาทตาแก้ว ซึ่งมีพวกไศเลนทร์อยู่
                ข่าวการเกิดจลาจลในนครอินทรปัตทราบไปถึง พระเจ้าอาทิตย์ราช ซึ่งครองราชย์สมบัติในกรุงอโยธยาปุระในลุ่มน้ำเจ้าพระยา พระอาทิตย์ราชเป็นห่วงพระแก้วมรกต เกรงพวกเขมรที่นับถือพระศิวะจะทำลายเสีย แล้วตั้งศิวลึงค์แทน จึงรีบยกทัพพร้อมด้วยจัตุรงคเสนา ทะแกล้วทหารเป็นอันมากไปเอาพระแก้วมรกตมาไว้ตั้งแต่รัชกาลพระเสนก พ.ศ.1545 แล้วกวาดต้อนผู้คนที่รักษาพระแก้วมรกตเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมายังกรุงอโยชฌ ปุระที่หนองโสน
                ตามตำนานพระแก้วมรกตและตำนานไทย กล่าวว่าพระอาทิตยราชนี้เป็นกษัตริย์ไทย ลูกหลานของพระอินทร์ผู้สร้างพระแก้วมรกตในสมัยพระเจ้าศิริธรรมราชได้ยกกองทัพบก กองทัพเรือมายึดนครละโว้ไว้ได้ในปี พ.ศ. 1400
                ต่อมาประมาณ พ.ศ. 1417 กษัตริย์ขอมที่เมืองพระนครอินทรปัตถูกกวาดล้าง
                ธิดาของพระอินทรวรมัน พี่น้องของพระเจ้าปทุมสุริยะวงศ์มาเป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงละโว้พระองค์หนึ่ง มีพระโอรสเป็นพระอาทิตยราช ต่อมาได้ย้ายพระนครจากละโว้กลับมายังนครอโยชฌ ปุระโบราณ ตรงเมืองอู่ทอง
                แต่นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเขียนประวัติศาสตร์เขมรว่า เป็นพระสุรยวรมเทวะ (สุรยวรมันที่ 1) เป็นกษัตริย์เขมรในเมืองพระนคาอินทรปัต ปี พ.ศ. 1545-1592 ได้มาแย่งราชสมบัติจากราชวงศ์เดิมได้ มีอาณาเขตกว้างขวางตลอดดินแดนไทยทั้งหมด เพราะเป็นโอรสของพระเจ้ากรุงตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และเข้ามาครองกรุงกัมพูชา โดยอ้างพระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 มีสิทธิ์ในราชบัลลังค์นี้ จึงปราบไปทั่วเกือบหมดแดนกัมพูชาโบราณสถานที่สร้างในสมัยพระองค์ มีปราสาทพิมานากาศปราสาทตาแก้วและปราสาทเขาพระวิหารสมัยสุริยวรเทวะคนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำตาปีใช้คำว่า สุริยงศ์เข้ามาแทนคำว่า ไศเลนทร์
                ประมาณ พ.ศ. 1595 พระอาทิตยราชสวรรคตพระยาจันทโชติอำมาตย์ พระสามีของเจ้าฟ้าปฏิมาสุดาจันทร์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา เนื่องจากไม่มีโอรสสืบวงศ์ เจ้าฟ้าปฏิมาสุดาดวงจันทร์พระธิดาในสุริยวงศ์ ซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังค์พระสามีพระเจ้าจันทโชติจึงขึ้นเสวยราชย์แล้วย้ายนครหลวงจากอโยชฌปุระ ไปนครละโว้ตามเดิม หลังจากเสวยราชได้ 5 ปี ได้สร้างวัดกุฎีทอง ถวายพระอาจารย์ส่วนพระอัครมเหสีสร้างวัดคงคาวิหาร
                พ.ศ. 1601 พระเจ้าอโนรธามังฉ่อ กษัตริย์มอญ ลูกหลานของพระเจ้าอนุรุธ ทราบข่าวการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินมีการแย่งชิงราชสมบัติ จึงยกทัพมาล้อมเมืองละโว้ พระเจ้าจันทโชติเห็นว่าไม่สามารถสู้กับกองทัพมอญได้ จึงปรึกษาเจ้าฟ้าปฏิมาสุดาดวงจันทร์ ขอถวายพระพี่นางเจ้าฟ้าแก้วประพาสให้กษัตริย์มอญ-พม่า เป็นอัครมเหสีเพื่อเป็นทางพระราชไมตรี
                ต่อมามีโอรสเป็น พระนเรศวรหงศา ส่วนเจ้าฟ้าปฏิมาสุดาดวงจันทร์มีโอรสเป็นพระนารายณ์ เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 ปี ได้ไปเยี่ยมพระเจ้าป้าอยู่จนคุ้นเคยในราชสำนักพระเจ้าอโนรธามังฉ่อ เกิดวิวาทกับพระนเรศวรหงศา
                พระนารายณ์จึงเกลี้ยกล่อมชาวไทยและมอญ ที่ตกอยู่ทางกรุงหงศาพาหนีกลับมาได้จำนวนมาก พอพระบิดาสวรรคตพระนารายณ์ซึ่งเป็นหลานทางสายมารดาได้ครองราชย์ ก็ย้ายนครหลวงกลับไปอโยชฌปุระ
                ปี พ.ศ. 1630 พระนเรศวรหงศา ยกกำลังพลสีแสนมาปิดล้อมกรุงอโยชฌปุระ แล้วมีการนัดก่อเจดีย์พนันเมืองกัน พระเรศวรหงศาแพ้ยกทัพกลับไปพระนารายณ์ได้ไปสร้างพระปรางค์สามยอดเมืองละโว้ แล้วขนานนามเมืองละโว้ใหม่ว่า เมืองลพบุรี
                พระนารายณ์สร้างพระปรางค์สามยอดที่ละโว้ ตามความเชื่อของวัฒนธรรมไศเลนทร์สร้างเป็นมณเฑียรธรรมในพระพุทธศาสนาสร้าง อุทิศให้บรรพบุรุษ ยอดกลางประดิษฐานพระพุทธรูป ยอดซ้ายและขวาประดิษฐานพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธรูปทรงเครื่อง
                พระองค์สร้างอุทิศให้แก่พระบิดา พระอัยกา เมื่อพระนารายณ์ ประชวรสวรรคต อำมาตย์เก้าคนฆ่าฟันแย่งชิงราชสมบัติกับพระเจ้าหลวงได้ราชสมบัติ ให้ยกวังเป็นวัด แล้วลงไปสร้างพระนครอโยธยาใหม่อยู่ท้ายเมืองไปวัดโปรดสัตว์
                ตำนานพระแก้วมรกตเล่าถึง พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในกรุงอโยธยามานาน สืบได้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ จนอยู่มาวันหนึ่ง เจ้าพระยากำแพงเพชรยกกองทัพเรือลงมาขอพระแก้วมรกตขึ้นไปไว้ในเมืองกำแพงเพชร
                เมืองกำแพงเพชรโบราณ คงจะมีมาก่อนแต่ไม่ค่อยมีหลักฐานของกษัตริย์ที่คงเมืองมากนัก จะมีก็แต่โบราณสถานเก่าแก่ทั่วไป ในแถบทุ่งเศรษฐีที่พบพระพิมพ์ต่าง ๆเช่น พระจำพวกซุ้มกอ พระกำแพง ลีลาต่าง ๆ
                มีตำนานพระพิมพ์ ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โบราณผู้ทรงธรรมจนมีผู้เรียกเทียบเท่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่มหานครแถวเมืองกำแพงเพชร มีประวัติว่า พระฤาษี 11 ตน ได้ปรึกษากันที่จะสร้างอะไรเพื่อเป็นพระเกียรติแก่พระยาศรีธรรมาโศก แล้วก็ช่วยกันทำพระพิมพ์แบบกำแพงเพชรขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เราทราบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก่อนเป็นเวลาเป็นพันปี และมีชนชาติไทยเราอาศัยอยู่มีเมืองต่าง ๆ รบพุ่งกันตลอดมา เราเพียงแต่รู้ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึกในช่วง 1 สองสมัยพระร่วงชนช้างกับเจ้าสมาชนเจ้าเมืองฉอด  (อยู่แถวจังหวัดตาก)
                จากหนังสือพระบรมราชธิบายของรัชกาลที่ 5 เขียนถึงพระแก้วมรกตว่า ต่อนั้นไปจึงถึงวัดใหญ่ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกันกลางเป็นรูปไม้สิบสอง จะเป็นเจดีย์หรือปรางค์อันใดพังเสียหรือไม่ แล้วด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่ อีกหลังหนึ่งในลานวัดนั้นเต็มไปด้วยพระเจดีย์ที่เป็นฐานเดียวกันหลาย ๆ องค์บ้าง ลักษณะเดียวกับวัดหน้าพระธาตุลพบุรีและวัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช จะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย
                 วัดนี้ดูบริบูรณ์มากกว่าวัดอื่น ซุ้มประตูใหญ่น้อยก็ยังมีข้างหน้าวัดมีสระสี่เหลี่ยมกว้าง ยาวลึกประมาณสัก 5 วา ขุดลงไปในแลงเหมือนอ่างศิลา ไม่มีรอยก่อเลยมีห้องฝาแลงกั้นสำหรับพระสรงน้ำ คงจะใช้โพงคันชั่ง
                น้ำในนั้นยังมีบริบูรณ์ใช้ได้อยู่จนบัดนี้เมื่อเห็นวัดนี้เข้าแล้วเป็นการจำเป็นที่จะยืนยันรับรองว่า วัดในเมืองจะเป็นวัดพระแก้วไม่ได้เลย ถ้าพระแก้วได้อยู่ในเมืองนี้ คงจะอยู่วัดนี้ ใช่จะแต่เฉพาะว่าวัดใหญ่เกี่ยวด้วยกาลเวลา
                ด้วยเหตุที่พระแก้วจะตกมาอยู่กำแพงเพชร คงจะอยู่มาก่อนสร้างเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ด้วย ถ้ามาอยู่ภายหลังคงไม่อยู่กำแพงเพชร ต้องไปอยู่สุโขทัย เมืองขึ้นกำแพงเพชร ไม่เกิน 600 ปี แต่เมืองโบราณภายในนี้ไม่ภายหลังพระร่วง ถ้าหากว่าได้ค้นคว้ากันจริง ๆ คงจะพบลำน้ำเขินพบเชิงเทินเมืองเก่า...
                เจ้าเมืองกำแพงเพชร ที่ไดรับการยกย่องเป็นพระเจ้าศรีธรรมาโศกที่ครองนครโบราณ นอกเมืองกำแพงเพชรในสมัยประมาณ พ.ศ. 1730 ได้ยกกองทัพเรือล่องลงไปขอพระแก้วมรกตจากนครอโยธยา ซึ่งขณะนั้นเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกำลังจะล่มสลาย
                คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ที่พระรัตนปัญญาได้เขียนไว้ที่นครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2060 ได้เขียนเรื่องพระแก้วมรกต ตั้งแต่ออกจากเมืองกำแพงเพชรจนถึงเมืองเชียงใหม่ ได้ถูกต้องกว่าตำนานพระแก้วมรกตฉบับอื่นๆ เพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา เวลาที่บันทึกเรื่องก็ไม่นานเพียง 160 ปี เรื่องพระแก้วมรกตส่วนมากจึงถือตามคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์
                ลุล่วงเข้าในสมัยพระเจ้ากือนา ครองเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1891929 พระอนุชาของพระเจ้ากือนาชื่อเจ้ามหาพรหม ครองเมืองเชียงราย เจ้ามหาพรหมได้ยกกองทัพมา และทูลขอทหารจากพระเจ้ากือนา รวมทหารได้แปดหมื่น ยกทัพลงไปเมืองกำแพงเพชร ในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอพระรัตนปฏิมา (พระแก้วมรกต) และพระสีหลปฏิมา (พระพุทธสิหิงค์) แล้วเอาขึ้นไปประดิษฐานที่เมืองเชียงราย ขุนหลวงพะงั่วทราบข่าวยกกองทัพไปช่วย แต่เจ้ามหาพรหมได้ยกทัพนำพระพุทธรูปไปเสียแล้ว
                จากคัมภีร์รัตนพิมพ์วงศ์ ซึ่งแต่งโดยพระภิกษุพรหมราชปัญญาเป็นภาษาบาลี เล่าว่า เมื่อพระเจ้าเมืองเชียงรายพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์และประชาชนทำการสมโภช สรงน้ำแก่องค์พระรัตนปฏิมากร บุคคลใดมีศรัทธาอันบริสุทธิ์ ด้วยบุญญาธิคุณ มีศีล มีทาน อุปัฏฐากแก่บิดามารดา เมื่อสรงน้ำพระแก้วมรกตน้ำนั้นมิต้ององค์พระเลย ทำให้ทราบว่าคนไหนดีคนไหนชั่ว ใครเป็นคนชั่วก็ไม่กล้าไปสรงน้ำให้เดือดร้อนใจทำให้ต้องกลับใจขอขมาลุแก่โทษต่อองค์พระแก้วกลับใจเป็นคนดี ไม่ประพฤติชั่ว จึงไปสรงนำพระแก้วมรกตได้เหมือนคนอื่น ๆ บ้านเมืองก็บังเกิดความร่มเย็นสงบสุขทั่วดินแดนแห่งนั้น
                ต่อมาเมื่อพรเจ้าแสนเมืองมา (โอรสพระเจ้ากือนา) ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ยกกองทัพไปรบกับเจ้ามหาพรหมผู้เป็นพระเจ้าอา พระเจ้าแสนเมืองรบชนะเข้าเมืองเชียงรายได้ พบแต่พระสีหลปฏิมาองค์เดียว ก็นำกลับมาเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระแก้วมรกตมีผู้นำไปซ่อน หายสาบสูญไป  ไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย
                ในสมัยพระเจ้าพิลก ครงอเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 1985-2031 ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองเชียงราย มีผู้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ขณะทำความสะอาดพระพุทธรูปพบทองและรักของพระพุทธรูปกะเทาะออกมาจากพระกรรณ เห็นข้างในเป็นแก้วสีเขียวสุกใส จึงแจ้งไปยังพระภิกษุเจ้าอาวาส ภายหลังกะเทาะทองและรักที่หุ้มออกหมด ปรากฏว่าเป็นองค์พระแก้วมรกต ที่หายสาบสูญไปนานแล้วนั่นเอง จึงแจ้งให้เจ้าเมืองเชียงรายได้รับทราบ
                พระเจ้าพิลกทราบข่าวการพบพระแก้วมรกต ก็ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาสู่เมืองเชียงใหม่ ให้จัดขบวนช้างและภิกษุสงฆ์ อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงรายถึงเมืองไชยสัก ปรากฏว่าพระแก้วมรกตมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นในทันที จนช้างที่อัญเชิญไม่อาจทานได้ ต้องอัญเชิญพระแก้วมรกตลงพักไว้ แล้วส่งคนไปกราบทูลพระเจ้าพิลกให้ทรงทราบ
                พระองค์จึงตรึกตรองว่า ชะรอยพระแก้วมรกตยังไม่มาโปรดเมืองเชียงใหม่ก่อน เหมือนเมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังพระชนม์อยู่ ย่อมเห็นว่ามีเวไนยชน ณ ที่ใดที่พระองค์ควรจะเสด็จไปโปรดได้ พระองค์ก็เลือกเสด็จไปทั่วทุกแห่ง ครั้งนี้พระแก้วมรกตคงจะเสด็จไปโปรดที่แห่งใดก่อนเป็นแน่แท้
                พระเจ้าพิลกจึงให้เขียนชื่อเมืองเชียงใหม่ เมืองหริภุญชัย เมืองพะเยา และเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) แล้วให้เสี่ยงทายจับฉลาก ปรากฏว่าจับได้เมืองเขลางค์นครก็อนุญาตให้อัญเชิญไปได้ พระแก้วมรกตก็ลดน้ำหนักลง อัญเชิญขึ้นช้างได้โดยสะดวก นำพระแก้วมรกตไปสู่เขลางค์นคร ชาวเมืองก็ปิติยินดีปรีดายิ่งนัก ที่จะได้พระแก้วมรกตไว้นมัสการเป็นบุญแก่เขลางค์นคร นั้นแล
                พระเจ้าพิลกราชาธิราช ครองราชย์มาถึงปีจอ จุลศักราช 838 (พ.ศ. 2019) ได้โปรดให้ สีหโคตรเสนาบดี (หมื่นด้ามหร้าคต) ก่อสร้างราชกูฎ (เจดีย์หลวง) องค์เก่า ที่สร้างในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ราชกุฏใหม่รูปทรงเป็นกระพุ่มยอดเป็นอันเดียว สวยงามน่าเลื่อมใสนัก เป็นจุดเด่นของเมืองเชียงใหม่ มีผู้กล่าวว่า งามดังพระธาตุจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว มีฐานกว้างด้านละ 35 วา สูง 45 วา พระเจ้าพิลกราชาธิราชก็ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาแต่เขลางค์นครประดิษฐานไว้ในราชกุฏที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อปีฉลู จุลศักราช 841 (พ.ศ. 2022) พระแก้วมรกตก็มาโปรดสัตว์เป็นมิ่งขวัญแก่ชาวเชียงใหม่ตั้งแต่นั้นมา
                เมื่อพระเจ้าโพธิสารราชาธิราช ขึ้นครองราชย์ในกรุงศรีสัตนาคนหุต ครั้งหนึ่งมีพระมหาเถระเจ้าองค์หนึ่งมาแต่เมืองเชียงใหม่ พระโพธิสารได้ปฏิบัติบูชาพระเถระเจ้าเป็นอย่างดีนั่นเองพระเจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยนั้น ทราบถึงความทรงธรรมของพระเจ้าโพธิสาร จึงจัดส่งพระธิดามาถวาย พระโพธิสารตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี มีโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐา
                เมื่อพระเจ้าตา กษัตริย์เมืองเชียงใหม่สวรรคต เหล่าอำมาตย์เสนาบดี สมณพราหมณ์ได้อัญเชิญพระไชยเชษฐาไปครองเมืองเชียงใหม่
                เมื่อ พ.ศ. 2093-2095 ต่อมาทรงทราบข่าวการสวรรคตของพระโพธิสารพระราชบิดา จึงเดินทางกลับไปถวายพระเพลิงพระราชบิดาที่หลวงพระบาง พร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ขึ้นไปด้วย
                ล่วงเข้า พ.ศ. 2107 พระไชยเชษฐา ได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองเวียงจันทน์ จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตพระพุทธสิหิงค์และพระบางไปประดิษฐานที่พระมหาปราสาทสามยอด ซึ่งสร้างอย่างสวยวิจิตรพิสดาร ประดับประดาช่อฟ้าใยระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง กระหินลายฝา ล้วนทำด้วยทองคำแผ่หุ้มทั้งสิ้น พื้นดาดด้วยเงิน หลังคาดาดด้วยดีบุก มีเศวตฉัตร 9 ชั้น ทำด้วยทองคำ ประดิษฐานอยู่เบื้องบนรัศมี
                เครื่องบริขารถวายของพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ และพระบาง ล้วนทำด้วยทองคำทั้งสิ้น พระไชยเชษฐาธิราช ได้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งไว้ทางทิศตะวันออก ถัดจากเจดีย์ที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างไว้ก่อนนั้นแล้ว พระองค์ก็ให้สร้างพระเจดีย์น้อย 30 องค์ ให้แวดวงเป็นบริวารทั่วไปโดยรอบแล้วพระองค์ให้พระนามพระเจดีย์ว่า เจดีย์พระโลกจุฬามณีศรีเชียงใหม่ แล้วจัดแจงข้าหญิงชายอย่างละร้อยให้เป็นข้ารักษาพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ และพระแซกคำเจ้า (พระบาง)
                พระแก้วมรกตได้อยู่นครเวียงจันทน์ เป็นที่สักการบูชาของประชาชนและกษัตริย์ผู้ครองเมืองมาหลายพระองค์ จนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยาแตกเสียแก่ข้าศึกพม่า ในปีกุนนพศก จุลศักราช 1129 (พ.ศ. 2310)
                ครั้งนั้นพระเจ้าตากสิน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้ลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะแตกแน่ เพราะคนไทยแตกความสามัคคี เจ้าแผ่นดินไม่เอาใจใส่บ้านเมือง จึงรวบรวมไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของพม่ามาตั้งกำลังพลอยู่ที่จันทบุรี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระเจ้าตากสินก็ยกทัพมาตีพม่าแตกพ่ายที่โพธิ์สามต้น และปราบก๊กต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ได้สำเร็จ จากนั้นก็ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์สืบวงศ์สยาม ยกกรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง แผ่ขยายขอบเขตขัณฑเสมาอาณาจักรให้กว้างขวาง แผ่พระเกียรติให้ไพศาลยิ่งกว่าครั้งกรุงเก่า ครั้งนั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้เจ้าพระยานครราชเสมา ส่งราชสารขึ้นไปยังเมืองเวียงจันทน์บุรี ให้มาขึ้นแก่กรุงธนบุรีกับเมืองต่าง ๆ เช่น ชวา มาลายู กัมพูชา กะเหรี่ยง ลาวเชียงใหม่ และญวนก็มาขึ้นแล้ว มาแต่งดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง บรรณาการตามพระราชประเพณี
                ครั้นพระเจ้าเวียงจันทน์ได้รับราชสารแล้ว ก็ตอบมาว่า กรุงศรีสัตนาคนหุต เวียงจันทบุรีมีกษัตริย์ปกครองมาหลายชั่วกษัตริย์ คิดเป็นอายุกว่าพันปี ไม่เคยคิดเป็นศัตรูกับประเทศไทย หาได้ไปอ่อนน้อมแก่ประเทศใดไม่
                ครั้นถึงจุลศักราช 1141 (พ.ศ. 2322) สมเด็จพระมหากษัตริย์ศึกกับพระเจ้าสุรสีหพิษณวาธิราช ได้ยกกองทัพขึ้นไปตีได้เมืองศรีสัตนาคนหุต เวียงจันทน์ พระเจ้าริมขาว เจ้าเมืองหลวงพระบางได้สวามิภักดิ์ช่วยในการสงคราม
                เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ได้ตีเมืองเวียงจันทน์แล้ว ก็อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับลงมาพระนครธนบุรี พระเจ้าตากสินก็ให้สร้างโรงพระแก้วที่หลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เสร็จแล้วก็อัญเชิญพระแก้วมรกต กับพระบางขึ้นประดิษฐานในโรงแล้วให้มีการสมโภชมหรสพต่างๆ
                สิ้นสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบดาภิเษกขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อ พ.ศ. 2325 ทรงพระราชดำริว่า พระพุทธรัตนปฏิมากร พระองค์นี้เป็นแก้วอย่างดีวิเศษ ไม่สมควรที่จะประดิษฐานอยู่กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองน้อย ขึ้นแก่กรุงเทพฯ จึงทรงสถาปนาสร้างพระอุโบสถในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งประดับประดาสวยงามวิจิตรยิ่งนัก แล้วทำระเบียงรอบบริเวณพระอาราม

รวบรวมเกล็ดเล็กๆน้อยๆเพื่อศึกษาโดย
นายศุภกิจ  ภิญโญทรัพย์
ครูศรช.สามสวนกลาง